Proof Of Stake คือ กลไกสำคัญของ Dapps รุ่นใหม่ที่สามารถทำให้เกิดโมเดลของการมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มแล้วได้รับผลตอบแทนกลับหรือ XXX To Earn ไม่ว่าจะเป็น Play To Earn,Listen To Earn,Click To Earn หรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้เกิดเป็นโอกาสของคอนเทนท์ครีเอเตอร์ยุคใหม่ที่จะสร้างรายได้ให้กับตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบุคคลที่สามหรือผู้ใช้งานต้องจ่ายเงินให้
บทความที่เกี่ยวข้อง : Listen To Earn โมเดลสร้างรายได้ทั้งคนทำเพลงและคนฟัง
การมีส่วนร่วมของ Community คือหัวใจของบล็อกเชน
สิ่งที่ทำให้บล็อกเชนกลายเป็นเทคโนโลยีที่ตัดตัวกลางที่เคยควบคุมทุกอย่างออกไปได้ก็เพราะคอนเซบท์ของการมีส่วนร่วมของผู้ที่อยู่ในระบบหรือ Node นั่นเอง ตัวอย่างเช่นธนาคารที่เคยต้องทำหน้าที่ยืนยันการทำธุรกรรมของคนสองฝ่ายก็เปลี่ยนมาใช้งานบุคคลที่สามที่ทำหน้าที่เป็น Node ช่วยยืนยันการทำธุรกรรมแทน
Bitcoin ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้คอนเซบท์ Proof Of Work หรือการขุดมาใช้ในการยืนยันธุรกรรมและผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Node ก็จะได้รับรางวัลเป็น BTC แต่การขุดเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เงินลงทุนและทรัพยากรจำนวนมาก
ทำให้คอนเซบท์ของ Proof Of Stake คือ เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเพราะไม่ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์ เพียงแค่ถือเหรียญหรือโทเคนของบล็อกเชนหรือแพลตฟอร์มนั้นๆไว้ก็เท่ากับการมีส่วนร่วมยืนยันธุรกรรมแล้วและจะได้รับผลตอบแทนเป็นเหรียญหรือโทเคนนั้นๆกลับไปได้เช่นกัน
ยิ่งธุรกรรมที่เกิดขึ้นในบล็อกเชนหรือ dApps นั้นๆมีมากเท่าไร เช่นการซื้อขายการโอนตลอดจนกิจกรรมต่างๆที่ dApps นั้นสร้างขึ้น การจ่ายผลตอบแทนก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
การที่มีผู้ใช้งานหรือผู้เล่นเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆใน dApps ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การเล่นเกมส์ การแลกเปลี่ยน NFT ฯลฯ ก็เท่ากับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในบล็อกเชนนั้นๆนั่นเองซึ่งผู้พัฒนา dApps สามารถแจกเหรียญหรือโทเคนคืนให้กับผู้ใช้งานเป็นผลตอบแทนได้
ขณะที่ผู้พัฒนา dApps ก็จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมหรือค่า Gas ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั่นเองและหากเหรียญหรือโทเคนที่สร้างขึ้นมีมูลค่าที่สูงขึ้น ตัว dApps เองก็จะมีมูลค่าสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : หลักการสร้าง Tokenomic สำหรับภาคธุรกิจ
เงินที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมมากจากไหน??
คำถามสำคัญคือ Earn หรือรายได้ของผู้ใช้งานนั้นมาจากไหน?? คำตอบคือมาจากระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใน dApps นั้นๆนั่นเองซึ่งจะต้องมีการออกแบบ Tokenomics ให้มีความสมดุลระหว่าง Demand และ Supply
อธิบายตัว Supply ก่อนว่าหมายถึงเหรียญหรือโทเคนที่ dApps นั้นสร้างขึ้นอย่างไม่จำกัดได้แต่ถ้าไม่ทำให้เกิด Demand หรือความต้องการใช้ขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นภายใน Dapps แ้ว่าจะมีเหรียญหรือโทเคนในตัวจำนวนมากก็แทบจะไม่มีราคา
ขณะเดียวกันต้องสร้างความสดุลระหว่างความต้องการซื้อและความต้องการขายโทเคนภายในแพลตฟอร์มไปพร้อมๆกัน เพราะถ้าไม่สร้าง Tokenomics ให้เกิดความต้องการที่จะถือเหรียญหรือโทเคนนั้นๆเอาไว้ ผู้ใช้งานเมื่อได้รับรางวัลเป็นเหรียญมาก็พร้อมที่จะเทขายทันทีทำให้มูลค่าไม่สามารถจะเติบโตต่อไปได้หรืออาจนำไปสู่ความล้มเหลวของแพลตฟอร์มไปได้เลยทีเดียว
ฟังคลิปวิเคราะห์เรื่อง Web3.0 ได้ที่นี้
โอกาสของคอนเทนท์ครีเอเตอร์
ด้วยคอนเซบท์ของ Proof Of Stake และ Web3.0 ผู้ที่สร้างคอนเทนท์บนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นบทความ เสียงหรือคลิปสามารถนำคอนเซบท์ดังกล่าวไปใช้ในการสร้างคอนเทนท์และรับรายได้จากระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายใน dApss ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กับคอนเทนท์ครีเอเตอร์เหล่านั้นได้ จากเดิมที่ผู้สร้างคอนเทนท์จะมีรายได้เพียงแค่สองทางคือรายได้จากการขายโฆษณาและจากการขายคอนเทนท์
โดยในยุคที่เศรษฐกิจไม่เติบโตนัก การแข่งขันด้านคอนเทนท์ออนไลน์ที่รุนแรงจากทั้งผู้เล่นรายใหญ่และรายเล็ก ตลอดจนการสร้างคอนเทนท์อยู่ภายใต้ตัวกลางแบบดั้งเดิมซึ่งจะกินส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากผู้สร้างคอนเทนท์ในระดับที่สูง ฯลฯ คอนเซบท์ของ Web3.0 จะช่วยให้คอนเทนท์ครีเอเตอร์มีช่องทางในการสร้างรายได้ที่มากขึ้น
ปัจจุบันนี้ได้มีแพลตฟอร์ม Web3.0 ที่คอนเทนท์ครีเอเตอร์สามารถนำไปใช้สร้างคอนเทนท์และรับรู้รายได้ไม่ว่าจะเป็น Brave Browser ซึ่งเป็นเวบไซต์ท่องอินเทอร์เนตที่แบ่งรายได้จากการชมโฆษณาให้กับทั้งผู้อ่านและเจ้าของเวบไซต์ รวมถึง Audios ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของคอนเทนท์ด้านเสียงอย่างดนตรีหรือพอดแคสต์สามารถรับรู้ส่วนแบ่งรายได้จากการที่มีคนเข้ามาคลิ๊กฟัง
ส่วนความเสี่ยงของการสร้างรายได้บนแพลตฟอร์ม Web3.0 คือความผันผวนของตลาดคริปโตซึ่งอาจจะมีผลต่อราคาเหรียญหรือโทเคนที่ขึ้นลงได้ กล่าวคือการเงินและการลงทุนจะเข้ามามีอิทธิพลต่อโลกของคอนเทนทืมากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง