Listen To Earn คือ

Listen To Earn โมเดลสร้างรายได้ทั้งคนทำเพลงและคนฟัง

โดย SM1984

Listen To Earn คือ โมเดลใหม่ของผู้ที่สร้างคอนเทนท์ประเภทเสียงไม่ว่าจะเป็นเพลงหรือ Podcast ที่เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องลิขสิทธิตลอดจนสามารถสร้างรายได้ทางตรงให้กับผู้สร้างคอนเทนท์และผู้ที่เข้ามาฟังยังมีโอกาสที่จะรับรายได้จากการแจกโทเคนอีกด้วย

แก้ Painpoint ของวงการดนตรี

ปัญหาเรื่องลิขสิทธิเพลงเกิดขึ้นในวงการดนตรีมายาวนานไม่ว่าจะเป็นศิลปินระดับไหนก็ตามมักจะพบกับปัญหาเรื่องของสัญญาการเป็นเจ้าของสิทธิในเพลงต่างๆกับทางเจ้าของค่ายเพลงตลอดจนการนำเพลงไปดัดแปลงโดยไม่บอกกล่าวเจ้าของเพลงที่แท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง : Ethereum Name Service แพลตฟอร์มสร้างเวบไซต์แบบ Decentralized

รวมถึงการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์ม Streaming ด้านเสียง ที่เปิดให้นักดนตรีหรือผู้สร้างคอนเทนท์สามารถสร้างผลงานของตัวเองผ่านแพลตฟอร์มอย่างเช่น Sportify ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาการถูกผูกติดกับค่ายเพลงต่างๆเหมือนในอดีตได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อทำการอัพโหลดเพลงขึ้นไปแล้ว ความเป็นเจ้าของคอนเทนท์นั้นก็ยังเป็นแพลตฟอร์มอยู่ดีและยังต้องมีการแชร์รายได้ที่เกิดขึ้นให้กับคนกลางทำให้ขาดโอกาสที่จะรับรายได้จากการสร้างผลงานอย่างเป็นกอบเป็นกำ

แต่การมาของเทคโนโลยีอย่าง NFT จะช่วยให้นักร้องนักดนตรีหรือเจ้าของคอนเทนท์ด้านเสียงอย่าง Podcaster สามารถแก้ Painpoint ที่เกิดขึ้นได้ โดยหากมีการ Mint ผลงานของตัวเองให้เป็นในรูปแบบของ NFT จะทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นเป็นของศิลปินจริงๆโดยไม่ต้องไปสืบค้นหนังสือสัญญาใดๆเพราะ NFT สามารถตรวจสอบได้ผ่านโค้ดว่าใครกันแน่คือเจ้าของตัวจริง 

อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆได้อย่างอิสระไม่ถูกผูกติดเมื่อทำการอัปโหลดขึ้นแพลตฟอร์มไปเหมือนในอดีต ทำให้ผลงานมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง

คนทำเพลงรับรายได้จากคนฟังเพลงโดยตรง

บนแพลตฟอร์ม Streaming ทั่วไปรายได้ที่เกิดขึ้นจะมาจากการเปิดรับสมัครสมาชิกหรือรับค่าโฆษณาจากนั้นแพลตฟอร์มก็จะนำรายได้นั้นมาแบ่งให้กับผู้ที่สร้างคอนเทนท์ต่อไป เท่ากับว่าแพลตฟอร์มคือ Streaming เป็นตัวการที่มาแบ่งรายได้จากผู้สร้างคอนเทนท์ไปจึงเป็นคอนเซบท์ของการรวมศูนย์หรือ Centralized

แต่การที่สร้างผลงานเพลงหรือเสียงบนเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยเปิดโอกาสให้เราสามารถเป็นอิสระจากแพลตฟอร์มหรือ Decentralized โดยแพลตฟอร์มแม้จะเป็นตัวกลางแต่จะไม่ทำงานแบบรวมศูนย์แต่จะกระจายศูนย์ออกไปให้ทั้งผู้สร้างคอนเทนท์และผู้ฟังได้มีโอกาสเป็นเจ้าของร่วมกัน

นอกจากนี้ยังมีกลไกที่สามารถทำให้นักสร้างคอนเทนท์สามารถรับรายได้จากนักฟังโดยตรงผ่านรูปแบบของการ Staking หรือถือ Node เป็นแนวทางที่ Win-Win ทั้งสามฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม นักสร้างคอนเทนท์และผู้ฟัง ซึ่งแนวทางดังกล่าวอาจจะเข้ามาปฎิวัติงการเพลงในอนาคตได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : NFT กับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ

Gala Music ลงทุนผ่าน Node 

Gala Music คือโปรเจกต์ที่ต่อยอดมาจาก Gala Games โดยมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องของ NFT Music เท่านั้น โดยเปิดให้ศิลปินสามารถสร้างผลงานเพลงในรูปแบบ NFT จากนั้นนำไปเก็บไว้บนแพลตฟอร์ม

จากนั้นจะทำการเสนอขาย Player Node เสนอขายให้กับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนรับผลตอบแทนจากรายได้ที่เกิดขึ้นในแพลตฟอร์ม NFT Music ทั้งหมด และ Fan Node ซึ่งเป็น Node เฉพาะศิลปินที่เข้ามาสร้างผลงานในแพลตฟอร์ม ผู้ที่ลงทุนใน Fan Node ก็จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆของศิลปินคนนั้น

เมื่อมีผู้เข้ามารับฟังเพลง ทาง Gala Music จะทำการแจก Gala Token ให้กับทั้งศิลปินเจ้าของ Node,ผู้ที่ลงทุนใน Node รวมถึงผู้ฟังทั่วไปที่เข้ามาฟังเพลงก็จะได้รับโทเคนเช่นกัน โดยทุกๆการฟัง เหรียญ Gala token จะถูก Mint ขึ้นมาในมูลค่า 0.1 ดอลลาร์

ปัจจุบันมีศิลปินชื่อดังอย่าง Snoop Dog ที่เข้าร่วม Gala Music แล้ว รวมถึงศิลปินดังอย่าง Maroon 5 และ BTS วงดนตรีดังจากเกาหลีและอนาคตจะมีศิลปินที่เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ

Audius ฟังเพลงแล้วได้เงิน

Audius คือแพลตฟอร์มด้าน Streaming เพลงที่ทำงานบนบล็อกเชนของ Ethereum ทำหน้าที่คล้ายกับ Sportify แต่อยู่ในรูปแบบของ Decentralized โดยนักสร้างคอนเทนท์สามารถสร้างสรรค์เพลงกับทาง Audius และรับรายได้จากนักฟังโดยตรง

โดย Audius จะมีโทเคน Audio ซึ่งให้สิทธิประโยชน์กับผู้ถือเหรียญคือสิทธิการเข้าถึง Exclusive Feature ซึ่งปกติจะต้องเสียเงินแต่กับ Audius เพียงแค่ถือโทเคนซึ่งสามารถนำไป Staking เพื่อเข้าร่วมเป็นหนึ่งใน Node ที่ช่วยตรวจสอบธุรกรรมต่างๆในแพลตฟอร์มและจะได้รับผลตอบแทนเป็นโทเคนนั่นเองซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของเพลงก็จะได้รับโทเคนเป็นรางวัลด้วย

Listen To Earn คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการดนตรีที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับศิลปินไม่ถูกเอาเปรียบจากค่ายเพลงหรือตัวกลางรวมถึงนักฟังเพลงก็มีโอกาสจะสร้างรายได้ด้วยเช่นกัน

ฟังคลิปวิเคราะห์แพลตฟอร์ม Web3.0 ได้ที่นี้

Related Posts