Elliot Wave คือ

เทคนิควัดรอบ Elliot Wave และหาแนวรับแนวต้านด้วย Fibonacci Retracement

โดย SM1984

Elliot Wave คือ เครื่องมือที่ใช้คาดการณ์แนวโน้มของราคาที่อาจจะเกิดขึ้นตามแพทเทิร์น แต่การที่จะยืนยันว่าราคาในปัจจุบันอยู่ในคลื่นไหนและมีโอกาสจะเปลี่ยนเป็นคลื่นต่อไปหรือยังสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Fibonacci Retracement ช่วยในการวิเคราะห์ได้

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : นับคลื่นวางแผนการเทรดด้วย Elliot Wave

การวัดรอบหาจุดต่ำสุดของคลื่นที่

หลังจากที่เริ่มต้นคลื่นที่ 1 จบลงจะต่อด้วยคลื่นที่ 2 ซึ่งจะเป็นการปรับฐาน สูตรที่นำมาใช้คำนวนว่าการปรับฐานนั้นถือว่าเป็นการเข้าสู่คลื่นที่ 2 แล้วหรือเป็นเพียงแค่การพักฐานเล็กของคลื่นที่ 1 คือการใช้ Fibonacci Retracement ลากจากจุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 1 ไปหาจุดสูงสุดของคลื่นที่ 1 

ทั่วไปแล้วหากราคามีการย่อตัวลงมาแตะระดับ 50% หรือ 61.8% จากจุดสูงสุดของคลื่นที่ 1 จะเป็นการยืนยันว่าราคาได้มาอยู่ที่คลื่นที่ 2 แล้ว และนับตั้งแต่จุดต่ำสุดของคลื่นที่ 2 จะเป็นจุดเริ่มต้นของของคลื่นที่ 3 

อย่างไรก็ตามจากจุดต่ำสุดของคลื่นที่ 2 ไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่าจะเข้าสู่คลื่นที่ 3 อย่างเต็มตัวเมื่อไร ราคาอาจจะ Sideway สะสมพลังเป็นระยะเวลานานอย่างเช่น Bitcoin ที่เข้าสู่คลื่นที่ 2 ตั้งแต่ปี 2018-2019 กินเวลากว่าสองปีเต็ม โดยสิ่งที่จะยืนยันได้ว่าเข้าสู่คลื่นที่ 3 อย่างเต็มตัวคือการผ่านจุดสูงสุดเดิมของคลื่นที่ 1 ได้นั่นเอง

การวัดเป้าหมายของคลื่นที่ 3

หากอยู่ใน Impluse Wave หรือคลื่นขาขึ้นโดยเฉพาะคลื่นที่ 3 ซึ่งจะมีความยาวมากที่สุด การจะวัดเป้าหมายในการทำกำไรจะเริ่มใช้ Fibonacci Retracement โดยวัดจากจุดสูงสุดของคลื่นที่ 1 ลงมาหาจุดต่ำสุดของคลื่นที่ 2 ก็จะได้เป้าแนวต้าน 

โดยส่วนมากราคาในคลื่นที่ 3 มักจะต้องไปถึงระดับ 161.8% ซึ่งเป็น Golden Ratio เป็นอย่างน้อยหรืออาจจะไปได้ถึงระดับ 261.8% แต่ถ้า Bullish มากๆหรือคลื่นที่ 2 ปรับฐานนานซึ่งจะมีกำลังในการวิ่งได้แรงอาจจะไปได้สูงสุดถึงระดับ 423.6% ซึ่งเมื่อไปถึงระดับดังกล่าวคือการสิ้นสุดขาขึ้นของคลื่นที่ 3

การหาแนวรับของคลื่นที่

หลังจากราคาขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดในคลื่นที่ 3 ก็จะเป็นการหาเป้าแนวรับของคลื่นที่ 4 ซึ่งเป็น Corrective Wave หรือคลื่นปรับฐาน โดยใช้ Fibonacci Retracement วัดจากจุดสูงสุดของคลื่น 3 ลงมา 

โดยส่วนมากการปรับฐานของราคาจะมาลงแตะที่ระดับ 38.2% ,50% และ 61.8% แต่บางครั้งที่ปรับฐานแรงมากอาจจะลงมาได้ถึงระดับ 78.6% โดยต้องยึดกฎเหล็กสำคัญที่การปรับฐานของคลื่น 4 ต้องไม่ลงมาต่ำกว่าหัวของคลื่นที่ 1 ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้แนวโน้มราคายากที่จะกลับตัวขึ้นมาได้อีก

การหาแนวต้านของคลื่นที่

หลังจากที่จบการปรับฐานในคลื่นที่ 4 ก็จะเป็นการมองหาเป้าแนวต้านของคลื่นที่ 5 โดยจะต้องใช้ Fibonacci Retracement วัดจากจุดสูงสุดของคลื่นที่ 3 ลงมาหาจุดต่ำสุดของคลื่นที่ 4 ก็จะได้เป้าหมายของคลื่นที่ 5 ซึ่งเป็นคลื่นที่สร้างจุดสูงสุดซึ่งมักจะไปได้ขั้นต่ำที่ 100% ของคลื่น 3 (หรือเท่ากับยอดเดิม) หรือไปได้ถึง 161.8% และ 261.8%

การวัดเป้าแนวรับแนวต้านใน Corrective Wave

คลื่น 2 และ 4 รวมถึงคลื่นที่เกิดหลังจากคลื่นที่ 5 จะถือว่าเป็นคลื่นปรับฐานหรือ Corrective Wave โดยจะมีชุดของคลื่นย่อย A-B-C ซึ่งสามารถใช้ Fibonacci Retracement วัดแนวรับและแนวต้านได้เช่นกัน

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : กลยุทธ์ทำกำไรรายวันแบบ Daytrade

โดยคลื่นย่อย A จะมีการย่อตัวลงจากจุดสูงสุดของคลื่น 5 ตั้งแต่ระดับ 161.8%,100%,61.8% หรือ 50% ส่วนคลื่นย่อย B จะปรับตัวขึ้นได้ตั้งแต่ 50% ถึง 61.8% ของจุดต่ำสุดคลื่นย่อย A และคลื่นย่อย C จะปรับตัวลง 100%,161.8% ของคลื่นย่อย B

การนำ Fibonacci Retracement มาใช้ควบคู่กับการนับคลื่นด้วย Elliot Wave คือ วิธีที่จะช่วยคาดการณ์ได้ว่าการปรับตัวลงหรือขึ้นถือเป็นการทำตามเงื่อนไขของแต่ละคลื่นได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวโน้มต่อไปและยังช่วยในการวิเคราะห์แนวรับและแนวต้านได้อีกด้วย

ศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้

Related Posts