Buy On Dip คือ Trade Setup สำหรับการเข้าซื้อเมื่อราคามีการย่อตัวลงในแนวโน้มขาขึ้น ถือเป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลางและไม่ได้การันตีว่าราคาจะกลับเป็นขาขึ้นและทำกำไรได้ทันที อย่างไรก็ตามการซื้อในขณะที่ราคาย่อตัวยังมีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากกว่า
ทั้งนี้ Buy On Dip จะต้องใช้กับราคาที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเท่านั้น เพราะถ้าเข้าซื้อในขณะที่แนวโน้มเป็น Sideway อาจจะไม่สามารถทำกำไรได้เนื่องจากแนวโน้มยังไม่เป็นขาขึ้น เช่นเดียวกับการซื้อในขณะที่ราคาเป็นขาลงอาจจะทำให้พอร์ตยิ่งขาดทุนเพิ่มได้
เกณฑ์การพิจารณาว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือไม่สามารถใช้ทฤษฎี Dow เข้ามาประกอบ เช่นราคามีการยกไฮยกโลว์ขึ้นต่อเนื่อง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจเข้าซื้อแบบ Buy On Dip จะประกอบไปด้วย
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : Channel Trade ซื้อขายทำกำไรในกรอบราคา Sideway
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (EMA)
ถือเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับการใช้ซื้อเมื่อราคาย่อตัวมากที่สุด โดยสูตรที่ใช้ในการเลือกช่วงเวลาของเส้นค่าเฉลี่ยในการเข้าซื้ออาจจะแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละคนหรืออาจจะดัดแปลงตามพฤติกรรมราคาได้เช่นกัน เพราะราคาของแต่ละสินทรัพย์อาจจะมีเส้น EMA ที่ใช้เป็นจุดเข้าซื้อที่ต่างกันออกไป
เส้น EMA ที่เหมาะสมกับการใช้ Buy On Dip จะเริ่มตั้งแต่ EMA5 เป็นต้นไปจนถึง EMA100 ถ้ายาวมากกว่านี้อาจจะเหมาะสมกับหน้าเทรดแบบ Run Trend ระยะยาวมากกว่า
จากตัวอย่างเห็นได้ว่าทุกครั้งที่ราคาลงมาถึงเส้น EMA 35 หรือ 50 วันจะมีแรงซื้อกลับทุกครั้งซึ่งสามารถใช้เป็นแนวรับที่เข้าซื้อแบบ Buy On Dip ได้
แนวรับตามแนว Fibonacci
นอกเหนือไปจากการใช้หาเป้าหมายการขายทำกำไรแล้ว เครื่องมืออย่าง Fibonacci Retracement ยังสามารถใช้ในการหาแนวรับได้อีกด้วย โดยระดับที่มีนัยยะสำคัญคือที่แนว 50% และ 61.8% บางครั้งอาจจะลงมาได้ถึงระดับ 78.6% ซึ่งสามารถทะยอยเข้ารับตามแนวดังกล่าวได้
แนวรับเทรนด์ไลน์หรือแนวต้านเดิม
หากราคามีการผ่านแนวต้านมาได้อย่างต่อเนื่องเราสามารถใช้แนวต้านที่เคยผ่านมาเป็นแนวรับในการทะยอยเข้าซื้อได้เมื่อราคาลงมาถึงจุดดังกล่าว รวมถึงการใช้เส้นเทรนด์ไลน์ที่เป็นแนวรับในการเป็นจุดที่จะ Buy On Dip ได้เช่นกันตามภาพตัวอย่าง
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของทรงกราฟที่จะต้องพิจารณาก่อนจะตัดสินใจใช้หน้าเทรดแบบ Buy On Dip ด้วยเช่นกัน เพราะแม้ว่าแนวโน้มของราคาจะเป็นขาขึ้นแต่ทรงกราฟมีความผันผวนสูง อาจจะไม่เหมาะกับการเข้าซื้อเมื่อราคาย่อตัว
จากภาพจะเห็นถึงทรงกราฟที่ไม่เป็นระเบียบและมีไส้เทียนยาวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง รูปแบบของราคาแบบนี้แม้จะเป็นขาขึ้นแต่ก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้หน้าเทรดแบบ Buy On Dip
หลังจากที่เข้าซื้อตามแนวรับจนมีกำไรแล้วอยู่ที่เราจะตัดสินใจขายทำกำไรเมื่อไรโดยจะเลือกถือ Run Trend ต่อจนเสียแนวโน้มขาขึ้นแล้วค่อยขายหรือจะเลือกขายทำกำไรเมื่อมีกำไรถึงระดับเลขสองหลักขึ้นไปหรือ Swing Trade ได้เช่นกัน
แบ่งรับหลายไม้โดยใช้ Money Management
แม้ว่าการเข้าซื้อในแนวโน้มขาขึ้นจะมีโอกาสที่สามารถทำกำไรจาก Capital Gain ได้ แต่นักเทรดจำเป็นต้องมีการบริหารความเสี่ยงโดยทะยอยเข้าซื้อเมื่อราคาย่อตัวสองถึงสามไม้ ไม่ควรที่จะทุ่มซื้อในครั้งเดียว เพราะแม้จะมองว่าราคาลงมาในระดับที่น่าสนใจแล้ว แต่ยังมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงได้ต่อ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแบบ Buy On Dip จึงต้องวางแผนหาแนวรับไว้สองถึงสามชั้น
การเข้าซื้อแบบถัวเฉลี่ยราคาในแนวโน้มขาขึ้นจะช่วยให้เราซื้อได้ในต้นทุนที่ถูกลงและไม่ทำให้เราตกรถถ้าราคาอยู่ดีๆมีการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามถ้าแนวโน้มราคาหลุดแนวรับจนพลิกกลับมาเป็น Sideway หรือขาลง เราต้องปรับกลยุทธ์ตามโดยอาจจะต้องยอมขายตัดขาดทุนออกไปก่อน เพราะถ้าราคาปรับตัวลงไปเรื่อยๆ พอร์ตของเราก็จะขาดทุนมากขึ้นได้
Buy On Dip คือ แนวทางการเทรดที่ต้องอาศัยความใจเย็นในการรอรวมถึงมีหลักการบริหารเงินในพอร์ตควบคู่ไปด้วยถึงจะประสบความสำเร็จ เพราะหลายครั้งก็จะเกิดอาการที่ราคาเกิดการพักตัวเป็นเวลานานจนทำให้สงสัยได้ว่าขาขึ้นได้จบไปแล้วหรือยัง โดยผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการเข้าไปทะยอยรับไม่ควรจะมี Drawdown เกินกว่า 10% ขึ้นไป
ศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้