IDO คือ

IDO และ IFO การระดมทุนรูปแบบใหม่บน DEX

โดย SM1984

IDO คือ การระดมทุนผ่านแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange ด้วยการนำเหรียญอย่าง BNB,ETH มา Swap เป็น Governance Token ของแพลตฟอร์มนั้นๆ ส่วน IFO คือการนำเหรียญที่แพลตฟอร์มกำหนดมาวางใน Pool เพื่อให้ได้ Governance Token นำไปทำ Yield Farming ต่อได้

หลังจากที่ยุคของ ICO เฟื่องฟูจนนำไปสู่ฟองสบู่แตกในปี 2018 หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกต่างหันมาคุมเข้มในการทำ ICO จนนำมาสู่การออกกฎหมายต่างๆเช่น ก.ล.ต. ประเทศไทยและนำมาสู่การระดมทุนรูปแบบ Asset Back Token ที่ใกล้จะเสนอขายเร็วๆนี้

ขณะที่โลกของคริปโตได้มีพัฒนาการอีกขั้นของการระดมทุนที่ไม่ต้องการจะผ่านการกำกับดูแลแต่ขอมีตัวกลางอย่าง Exchange ช่วยกลั่นกรองโปรเจกต์จนมาถึงยุคของ IEO ที่โด่งดังอย่างเช่น Binance Launchpad 

จนกระทั่งยุคของ Decentralized Finance หรือ DeFi เริ่มเบ่งบาน ทำให้เกิดวิธีการระดมทุนรูปแบบใหม่ผ่าน Decentralized Exchange หรือ DEX นั่นคือ IDO (Initial DEX Offering) รวมถึงIFO (Initial Farm Offering) 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คู่มือเริ่มต้นลงทุน Yield Farming สำหรับมือใหม่

กล่าวคือ IDO จะมี Decentralized Exchange เป็นผู้รับผิดชอบในการระดมทุน โดยเคสของ IDO ส่วนใหญ่เกิดขึ้นผ่าน Pancakeswap ซึ่งเป็น DEX ที่กำลังเติบโตรวดเร็วภายใต้การสนับสนุนจาก Binance ชนิดที่สามารถแข่งกับผู้เล่นเก่าอย่าง Uniswap ได้เลยทีเดียว

พูดง่ายๆคือแพลตฟอร์ม DeFi Protocol ใหม่ ๆก็สามารถเสนอขายโทเคนของตัวเองได้ผ่านทาง DEX โดยการนำคู่เหรียญที่กำหนดนำมาฝากไว้บนแพลตฟอร์มเช่นคู่ BNB-CAKE โดยจะมีการกำหนดสัดส่วนว่าต้องฝากไว้ใน  Pool เป็นมูลค่า XX ถึงจะได้เหรียญหรือโทเคนของแพลตฟอร์มนั้นๆตามจำนวนที่กำหนด

นอกจากนี้ยังมี IFO  ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดควบคู่มากับ IDO ก็คือจะต้องนำเหรียญที่กำหนดมาฝากไว้ใน Pool เช่นกันแต่ถ้าเป็น IFO ก็จะสามารถนำเหรียญหรือโทเคนนั้นไปทำ Yield Farming ต่อได้ แต่ถ้าเป็น IDO ก็จะทำฟาร์มไม่ได้

ลงทุน IDO ได้ทางไหนบ้าง

ปัจจุบันได้มีแพลตฟอร์ม DEX จำนวนมากที่เปิดให้ระดมทุน IDO ไม่ว่าจะเป็นเชนของ Binance Smart Chain,Ethereum,Solana ซึ่งบางแพลตฟอร์มจะต้องสะสมเหรียญ Governance Token ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อให้ได้สิทธิในการระดมทุน IDO ตามสัดส่วนที่กำหนด คล้ายๆกับ Binance Launchpad ที่ต้องมี BNB ให้ได้ตามจำนวนที่กำหนเถึงจะได้สิทธิซื้อเหรียญระดมทุน

บางครั้งโปรเจกต์ก็จะเปิดให้ผู้สนใจลงทุนเข้ามาซื้อเหรียญในวันแรกพร้อมๆกัน (แม้แต่คนสร้างโปรเจกต์ก็ต้องมาแย่งซื้อเอง) หรือที่เรียกกันว่า Fair Launch ซึ่งถือเป็นวิธีการที่โปร่งใสและจะไม่ทำให้เกิดความกังวลว่าผู้พัฒนาโปรเจกต์ถือเหรียญนั้นๆไว้กับตัวจำนวนมากจนสามารถควบคุมนโยบายและราคาได้ทั้งหมด

ระดมทุนง่ายแต่มาพร้อมความเสี่ยง

ข้อดีของการระดมทุน IDO คือ โปรเจกต์สามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบจาก Exchange เหมือนกับ IEO และสามารถลิสต์เหรียญของตัวเองบน DEX ได้รวดเร็ว โดยนักลงทุนสามารถได้ผลตอบแทนจากการทำ Yield Farming ได้ทันที

อย่างไรก็ตาม การที่สามรถระดมทุนได้อย่างรวดเร็วก็อาจจะเป็นข้อเสียได้เช่นกันเพราะจะเป็นการเปิดช่องให้โปรเจกต์ที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาระดมทุนและอาจนำไปสู่การหลอกลวงนักลงทุนด้วยวิธีการต่างๆเช่น Rug Pull หรือราคาเหรียญตกลงอย่างรวดเร็วหลังกระแส FOMO ในช่วง Fair Launch จนทำให้ขาดทุนหนัก

การมี IDO และ IFO จะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลปวดหัวมากขึ้นเพราะในโลกของ DeFi นั้นจะไม่มีการแตะ Fiat Currency เลยและ DeFi Protocol ที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่มีใครจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจริงจังเป็นเพียงกลุ่มบุคคลเท่านั้นจึงไม่มีฐานที่ตั้งชัดเจน

บทความที่เกี่ยวข้อง : Yield Farming สร้างผลตอบแทนอย่างไรให้ได้เลขสามหลักต่อปี

หลังฟองสบู่ ICO แตกลง หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกพยายามที่จะเข้ามากำกับดูแล Centralized Exchange อย่างประเทศไทยก็มี พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ที่เข้ามากำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจรวมถึงการระดมทุน แต่ในโลกของ DeFi แทบจะเรียกได้ว่าอยู่กันคนละมิติกับโลกของการเงินดั้งเดิมเลยทีเดียว 

หากเม็ดเงินทีไหลเวียนอยู่ใน Centralized Excahnge ไหลไปยัง DeFi มากเท่าไร การกำกับดูแลก็จะยากขึ้นเท่านั้น เพราะ DeFi Protocol ทั้งหมดไม่จำเป็นต้องแตะต้อง Fiat Curreny แม้แต่น้อย 

ต้องไม่ลืมว่าโลกของ DeFi คือโลกที่ไร้การกำกับดูแล ผู้ลงทุนต้องดูแลเงินของตัวเองเท่านั้น เชื่อได้ว่าการ Scam ผ่าน IDO และ IFO จะไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้แน่นอน

** คอร์สออนไลน์  “มือใหม่เริ่มลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” นอกจากเรียนทฤษฎีทางออนไลน์แล้วยังได้เรียนสดทาง Zoom กับผู้สอนทุกสัปดาห์อีกด้วย รายละเอียดคลิ๊กที่นี้

Related Posts