บิทาซซ่า นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ชั้นนำของประเทศไทย ประกาศเปิดลิสติ้งเหรียญใหม่ 19 เหรียญ พร้อมเตรียมเปิดให้ซื้อขายเหรียญ BTZ ของบิทาซซ่าเองให้กับผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของบิทาซซ่า การเพิ่มเหรียญครั้งนี้เป็นความตั้งใจเน้นย้ำจุดเด่นของโบรกเกอร์ในการลิสต์เหรียญใหม่ซึ่งยังไม่มีสภาพคล่องในประเทศ ทั้งนี้ทำให้บิทาซซ่ากลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีคู่เทรดมากที่สุดในประเทศไทย
โดยทิศทางการคัดเลือกเหรียญมาจากการพิจารณา Token Listing Framework และการเปิดให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมออกคะแนนเสียงเพื่อความโปร่งใสและเท่าเทียมเน้นจุดยืนในการเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นให้ประโยชน์ต่อคอมมูนิตี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : บิทาซซ่า นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทยประกาศเปิดโลกบิทาซซ่ายูโทเปีย (Bitazza Utopia)
โทเคนใหม่ล่าสุดที่ บิทาซซ่า
1) SOL เป็นโทเคนของบล็อกเชน Solana ที่มีความตั้งใจจะเป็นบล็อกเชนทางเลือกให้แก่ผู้ที่ไม่พอใจกับความเร็วและค่าธรรมเนียมของอีธีเรียมในปัจจุบัน Solana เป็นเครือข่ายบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ในโลกคริปโต โดยสามารถทำได้สูงถึง 5 หมื่นธุรกรรมต่อวินาที ผู้สร้าง Solana ตั้งใจให้บล็อกเชนสามารถขยายตัวได้เร็ว ปลอดภัยและกระจายศูนย์ โดยทำงานร่วมมือกับสัญญาอัจฉริยะ (สมาร์ทคอนแทรค) ได้ Solana ใช้ Proof-of-Stake และ Proof-of-History ในการช่วยยืนยันธุรกรรม
2) LUNA เป็นโทเคนที่บล็อกเชน Terra ใช้ในการทำให้เหรียญ Stablecoin มีราคาคงที่และให้ผู้ใช้งานสามารถโหวตกำหนดทิศทางของ Terra ได้ด้วย Terra คือบล็อกเชนที่เน้นการสร้างการจ่ายชำระอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน้าที่หลักคือการสร้าง algorithmic stablecoin แพลตฟอร์ม Terra อยู่ในชีวิตประจำวันโดยผู้ใช้งานจำนวนมากในเอเชียและมีเงินหมุนเวียนอยู่เกือบ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3) DOGE เป็นเหรียญดั้งเดิมของ Dogecoin บล็อกเชน Dogecoin เปิดตัวในเดือนธันวาคม 2556 และเริ่มต้นมาจากการเป็นเหรียญล้อเลียน (มีม) altcoin อื่นๆในสมัยนั้น DOGE ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นหนึ่งในเหรียญที่มีมูลค่าตลาดอันดับต้นๆของโลก ปริมาณ Dogecoin มีไม่จำกัด และมีรางวัลการขุดที่ 10,000 DOGE ต่อบล็อก Dogecoin บล็อกเชนใช้อัลกอริธึม Proof-of-work และสร้างบล็อกใหม่ในช่วงเวลา 1 นาที
4) MATIC เป็นโทเคนของเครือข่าย Polygon ซึ่งเป็นโซลูชันเลเยอร์ 2 สำหรับบล็อกเชนอีธีเรียมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมและลดค่าธรรมเนียมในเครือข่ายอีธีเรียม Polygon หวังที่จะเชื่อมต่ออีธีเรียมกับระบบนิเวศที่กว้างขึ้นของบล็อกเชนอื่นๆโดยการรวม โซลูชันเลเยอร์ 2 และไซด์เชนที่จะเปลี่ยน Ethereum ให้เป็นระบบมัลติเชนที่เต็มเปี่ยม เป้าหมายของ Polygon คือการเป็นอินเทอร์เน็ตของบล็อกเชนสำหรับอีธีเรียมและจะทำให้การทำงานร่วมบล็อกเชนเป็นไปได้
5) PAXG คือโทเคนผูกติดกับทองคำมาจากผู้สร้าง Paxos Standard ทุก PAXG โทเคนถูกผูกติดกับ 1 t oz ทองคำจริงๆมาจากทองคำแท่ง 400oz ของ London Good Delivery ที่เก็บไว้ในห้องนิรภัย Brinks ผู้ถือโทเคน PAXG จะสามารถแลกทองคำจริงจาก Paxos หรือผู้ร่วมมือของเขาได้
6) ADA เป็นเหรียญของบล็อกเชน Cardano ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงในการทำธุรกรรมและการใช้งาน Smart Contract และแอปพลิเคชันบนเครือข่าย Cardano
Cardano คือหนึ่งในบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้ระบบ Proof-of-Stake Cardano ยังมีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกันในแพลตฟอร์มคริปโตอื่น ๆ โดยใช้โปรโตคอลไซด์เชนที่จะช่วยให้ Cardano เข้าใจข้อมูลของบล็อกเชนอื่นๆ
7) VET เป็นโทเคนหลักของ VeChain ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคริปโตที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถรวมระบบซัพพลายเชนภายในเข้ากับเทคโนโลยีบล็อกเชนได้ VeChain มีเป้าหมายที่จะเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน Internet of Things (IoT) เข้ากับความปลอดภัยของเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อช่วยธุรกิจต่างๆเข้าใจซัพพลายเชนได้ดีขึ้น VeChain เหมาะสำหรับการดำเนินธุรกิจสำหรับทั้งบุคคลและ บริษัท ขนาดใหญ่และมีพาร์ทเนอร์ชื่อเสียงมากมายอยู่แล้วเช่น BMW, Louis Vuitton, Renault Group, H&M และ Walmart แสดงให้เห็นถึงกรณีการใช้งานในปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จของ VeChain
8) SHIB เป็นโทเคนของโปรเจ็คเครือข่าย SHIBA INU ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างคอมมูนิตี้แบบกระจายศูนย์และเพื่อล้อเลียน DOGE แต่เพิ่มความ DeFi และฟังก์ชั่นของอีธีเรียมเข้าไปเพื่อหวังสู้กับ DOGE ตั้งแต่วันที่เปิดตัว ตอนนี้ SHIBA โตขึ้นแล้ว 2 ล้าน % โดยมีคอมมูนิตี้คอยส่งเสริมอยู่เบื้องหลังเนื่องจากภาพลักษณ์อันน่าเอ็นดูและเข้าใจง่ายเหมาะกับชาวคริปโตมือใหม่ทั้งหลาย
9) CAKE คือโทเคน BEP-20 ของ PancakeSwap ซึ่งเป็น Decentralize exchange สร้างบน Binance Smart Chain ที่ให้ผู้ใช้งานแลกเปลี่ยนคริปโตเป็นคริปโตกันเองโดยตรง และให้ผลประโยชน์แก่เครือข่ายผู้ใช้งานที่ร่วมมาฝากสินทรัพย์และสร้างสภาพคล่องกันเอง โทเคน CAKE ใช้ในการบริหารโปรโตคอล PancakeSwap
10) RUNE เป็นโทเคนยูทิลิตี้ของเครือข่าย THORChain ซึ่งเป็นโปรโตคอลสภาพคล่องแบบข้ามบล็อกเชนที่ช่วยให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในเครือข่ายต่างๆได้อย่างง่ายดาย THORChain ใช้โมเดล Automated Market Maker (AMM) ที่ช่วยให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างแหล่งสภาพคล่องที่อยู่คนละเครือข่ายได้โดยใช้โทเคน RUNE ของ THORChain
11) VELO คือโปรโตคอลทางการเงินบล็อกเชนที่ช่วยให้สามารถออกเครดิตดิจิทัล และโอนสินทรัพย์แบบไร้พรมแดนได้โดยการใช้ระบบสมาร์ทคอนแทรคบน Stellar บล็อกเชน โทเคน VELO ทำให้การโอนเงินโดยตรงแบบ Trustless และข้ามโลกเป็นไปได้โดยใช้เครดิตดิจิทัลที่ถูกผูกกับสกุลเงิน fiat แบบ 1 ต่อ 1 นอกจากการโอนเงินแล้ว Velo Network ยังมอบบริการการเงินที่หลากหลาย ทั้งเป็นเกตเวย์การชำระเงินทั่วโลกและการกู้ยืมแบบ CeDeFi
12) HBAR เป็นโทเคนของเครือข่าย Hedera Hashgraph ซึ่งสร้างขึ้นบนเทคโนโลยี Hashgraph ที่ให้ประโยชน์หลายประการเหนือเทคโนโลยีบล็อกเชนแบบเดิม เช่น ธุรกรรมที่เร็วขึ้น เวลาแฝงที่น้อยที่สุด และค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ถูกกว่า Hedera ใช้โปรโตคอล Gossip-About-Gossip ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการส่งข้อมูลระหว่างโหนดเครือข่ายโดยใช้โครงสร้างข้อมูล Directed Acyclic Graph (DAG) ร่วมกับกลไก Proof-Of-Stake ที่สร้างความปลอดภัยระดับองค์กรทั่วทั้งระบบ
13) AXS เป็นโทเคนการกำกับดูแล ERC-20 ของระบบนิเวศ Axie Infinity Axie Infinity เป็นเกมที่สร้างบนอีธีเรียมที่รวมองค์ประกอบของเกม RPG (RPG คือเกมส์เช่น Pokemon, Final Fantasy และ Dragon Quest) เข้ากับศักยภาพ Blockchainของ Cryptokitties เพื่อสร้างเกมที่ตอบแทนผู้เล่นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนิเวศ Axie Infinity เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกรูปแบบ Play-to-Earn ที่อาจเปลี่ยนอุตสาหกรรมเกมในอนาคต
14) SLP คือโทเคน ERC-20 ที่ใช้งานในเกม Axie Infinity เพื่อเพาะพันธุ์ Axies ที่ผู้เล่นเลี้ยงอยู่ ผู้เล่นเกมสามารถรับ SLP จากกิจกรรมในเกม SLP ไม่มีอุปทานจำกัด และจำนวน SLP ที่อยู่ในการหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับกิจกรรมในเกมและพฤติกรรมของผู้เล่น
15) 1INCH คือโทเคนการกำกับดูแลครือข่าย 1INCH และใช้สำหรับการปฏิบัติโปรโตคอลสภาพคล่องของ 1INCH ครือข่าย 1INCH รวมโปรโตคอล DeFi หลากหลายอย่างเช่น Decentralized Exchange Aggregator ของ 1INCH ที่รวมราคาจาก DEX มากกว่า 50 อันเพื่อช่วยให้ลูกค้าตามหาราคาที่ดีที่สุดในตลาดโลก นอกจากนี้ ระบบนิเวศ ของ 1INCH ยังมีโปรโตคอลสภาพคล่องที่เป็น หนึ่งในโปรโตคอลที่มีความปลอดภัยและมีประสิธิภาพที่สูงที่สุดในภาค DeFi
16) BNB คือโทเคนที่ขับเคลื่อนระบบนิเวศของ Binance ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย Binance Exchange, Binance Decentralized Exchange, Binance Chain, Binance Smart Chain และผลิตภัณฑ์กับบริการอื่นๆที่สร้างขึ้นเพื่อนำการเงินยุคใหม่มาสู่โลกแต่เดิม BNB เป็นโทเคน ERC-20 แต่หลังจากนั้นมีการสร้างระบบ Binance Chain ทำให้ BNB ย้ายมาและกลายเป็นสกุลเงินหลัก Binance
17) DOT คือโทเคนเครือข่าย Polkadot โปรโตคอลนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการขยายตัวได้รวดเร็ว ปลอดภัย พร้อมสร้างพื้นฐานการปฏิบัติการ cross-chain แบบ Trustless และ Decentralized โปรโตคอล Polkadot เป็นบล็อกเชนแบบโอเพนซอร์สที่รวบรวมบล็อกเชนอื่นๆเข้ามาไว้ในระบบนิเวศเดียวกันแบบ Decentralized สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือสินทรัพย์ได้ทั่วทั้งเครือข่าย ช่วยให้บล็อกเชนต่างๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ถือ DOT สามารถลงคะแนนเสียงเรื่องการทิศทางการบริหารระบบนิเวศ วางสเตก บอนด์ ทั้งนี้ DOT ยังใช่ขับเคลื่อนทั้งระบบนิเวศน์และปฏิบัติการสุดแสนซับซ้อนของระบบที่เชื่อมต่อ Relay Chain เชนหลัก กับ Chain อื่นๆคู่ขนานที่เรียกว่า “Parachain” (พาราเชน) และสะพานทั้งหลาย
18) SRM เป็นโทเคนยูทิลิตี้ของระบบนิเวศ Serum
ซึ่งเต็ม Decentralized Exchange (DEX) บนบล็อกเชน Solana ที่นำความเร็วสูงและค่าการทำธุรกรรมต่ำมาสู่โลก DeFi Serum ช่วยให้เกิดการซื้อขายข้ามบล็อกเชนแบบ on-chain Orderbook สามารถ Limit Order, Stop Loss, Bids และ Offers บน DEX ได้ ไม่เหมือน DEX อื่นๆที่ใช้ระบบ AMM SRM เป็นโทเคน SPL (ทำงานบนบล็อกเชน Solana) แต่มีการ cross-list บนมาตรฐาน ERC-20 ด้วย
19) RAY คือโทเคนของโปรโตคอล Raydium ซึ่งเป็น AMM บนบล็อกเชน Solana ผู้ถือ RAY สามารถวางสเตกและร่วมออกคะแนนเสียงบริหารและกำหนดทิศทางของระบบได้ Radium เชื่อมต่อคำสั่งซื้อขายแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Order Book) ของ Serum เข้ากับสภาพคล่องของ Raydium การเชื่อมต่อทำให้เครือข่าย Solana ได้รับผลประโยชน์จากสภาพคล่องของทั้งสองโปรโตคอล
เปิดบัญชีซื้อขายเหรียญเหล่านี้กับ บิทาซซ่า ได้ที่ลิงค์นี้