Web3 คือ อินเทอร์เนตในยุคหลังจากนี้ที่มีคอนเซบท์ของการกระจายอำนาจ (Decentralized) ซึ่งต่างจากอินเทอร์เนตยุค Web2 ที่มีรูปแบบของการรวมศูนย์ (Centralized) หรือระบบปิดซึ่งเจ้าของแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เนตควบคุมผู้ใช้งานไว้ทั้งหมด
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเรามาดูกันว่าด้วยคอนเซบท์ของการกระจายอำนาจทำให้ Web3 สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในยุคของ Web2 ได้อย่างไร
ข้อมูลส่วนตัวไม่ตกเป็นของแพลตฟอร์ม (Privacy)
Painpoint สำคัญของผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในยุคนี้คือการถูกล่วงล้ำข้อมูลส่วนตัวจากการที่แพลตฟอร์มเข้ามาเก็บข้อมูลการใช้งานเช่นความสนใจส่วนตัวตลอดจนการทำธุรกรรมต่างและส่งต่อไปให้กับผู้ที่ซื้อโฆษณาใช้ข้อมูลที่ได้มาไปทำการยิงโฆษณากลับมาที่ผู้ใช้งาน เรียกได้ว่าแพลตฟอร์มรู้จักผู้ใช้งานในทุกด้าน
บทความที่เกี่ยวข้อง : รีวิว Freedom NFT เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือ Freedom Card
แต่ Web3 ข้อมูลของผู้ใช้งานจะไม่ถูกนำไปรวมศูนย์อยู่ที่แพลตฟอร์มแต่ผู้ใช้งานจะเป็นผู้ควบคุมดูแลข้อมูลส่วนตัวของตัวเองผ่าน Wallet แม้ว่าในเชิงเทคนิคจะสามารถตรวจสอบธุรกรรมต่างๆในบล็อกเชนได้ทั้งหมด แต่ข้อมูลส่วนตัวเช่นชื่อผู้ใช้งานจะไม่ถูกเปิดเผย
เพิ่มระดับของ Security
การที่โครงสร้างอินเทอร์เนตของ Web2 มีการกระจุกตัวของฐานข้อมูลต่างๆอยู่ในจุดศูนย์กลางเดียวทำให้เวลาที่ฐานข้อมูลกลางประสบปัญหาการทำงานหรือมี Hacker เข้ามาก่อกวนจะสามารถสร้างความเสียให้กับโครงข่ายทั้งหมดได้
แต่ Web3 ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งมีการกระจายฐานข้อมูลไปยังผู้ที่เป็น Node ซึ่งมีจำนวนมากกว่าหนึ่งทำให้เวลาที่ Node ส่วนหนึ่งมีปัญหา ฐานข้อมูลและการทำธุรกรรมต่างๆสามารถกระจายไปยัง Node อื่นได้ จึงเป็นการเพิ่มระดับของ Security ได้ในระดับที่สูงกว่า Web2
รอดพ้นจากการเซนเซอร์ที่ไม่ยุติธรรม
โครงสร้างของ Web2 ที่ถูกควบคุมดูแลโดยเจ้าของแพลตฟอร์มทำให้บางครั้งเกิดปัญหาที่ผู้ใช้งานบางรายถูกแบนออกจากระบบโดยไม่ยุติธรรมหรือมีอคติจากผู้คุมกฎระเบียบรวมไปถึงการกีดกันในคอนเทนท์บางประเภท
แต่ในโครงสร้างของ Web3 การตัดสินใจในเรื่องการเซนเซอร์ไม่ได้อยู่ที่เจ้าของแพลตฟอร์มเพียงคนเดียว แต่ผู้ใช้งานทั้งหมดมีสิทธิที่จะออกนโยบายและกำหนดทิศทางของแพลตฟอร์มได้ การที่จะถูกเซนเซอร์จึงขึ้นอยู่กับผู้ร่วมใช้งานไม่ใช่มาจากเจ้าของเพียงคนเดียว
มีระบบการเงินกระจายอำนาจ (DeFi) ที่ทำงานร่วมกับระบบการเงินดั้งเดิมได้
ในโลกของ Web2 ระบบการเงินจะเป็น Fiat Currency แต่ใน Web3 จะสามารถเพิ่ม Cryptocurrency เข้ามาเป็นระบบการเงินได้รวมถึงการใช้คอนเซบท์ของระบบการเงินกระจายอำนาจหรือ DeFi อย่างไรก็ตาม Web3 สามารถทำให้ระบบการเงินเก่าปละระบบการเงินใหม่สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้
เพิ่มความโปร่งใสด้วยบล็อกเชน
การที่ Web3 ทำงานภายใต้เทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน เนื่องจากเครือข่ายถูกกระจายไปยังผู้ที่เป็น Node ไม่ได้รวมศูนย์การจัดการไว้ที่คนหรือกลุ่มคนเพียงรายเดียวหรือไม่กี่ราย นอกจากผู้ใช้งานยังมีสิทธิที่จะออกเสียงเกี่ยวกับนโยบายต่างๆของทางแพลตฟอร์มได้ด้วยคอนเซบท์ของ DAO
นอกจากนี้การมีบล็อกเชนยังทำให้ทุกธุรกรรมสามารถตรวจสอบได้และไม่สามารถที่จะไปแก้ไขย้อนหลังได้ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงที่เคยเกิดขึ้นจากการรวมศูนย์การกจัดการไว้ที่เจ้าของแพลตฟอร์มเท่านั้น
ระบบจัดการอัตโนมัติด้วย Smart Contract
การที่ทำงานบนบล็อกเชนยังสามารถใช้เทคโนโลยี Smart Contract ยังทำให้การใช้งานบนแพลตฟอร์มทำได้โดยอัตโนมัติไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาจัดการดูแลและไม่สามารถทำธุรกรรมย้อนหลังได้ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นทุนของการบริหารจัดการลดลง ทำงานอย่างไร้อคติ ถึงอย่างไรก่อนที่จะใช้งานจะต้องศึกษาการทำงานของ Smart Contract อย่างละเอียดโดยเป็นไปได้ว่าควรต้องมีการออดิทอย่างมีมาตราฐาน
โอกาสสร้างรายได้ด้วยระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ในโลกของ Web2 คอนเทนท์ที่เราได้สร้างขึ้นถือเป็นทรัพย์สินของแพลตฟอร์มโดยที่เราไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ แต่ในโลกของ Web3 เราสามารถจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลได้ด้วยการทำให้เป็น NFT ซึ่งมีคุณสมบัติแสดงความเป็นเจ้าของในตัวเองได้และยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ผ่านบล็อกเชน
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะสร้างรายได้ผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลที่เราเป็นเจ้าของด้วยคอนเซบท์ของ GameFi และ DeFi ต่างจากโลกของ Web2 ที่แพลตฟอร์มเป็นผู้สร้างรายได้ก่อนจะนำมาแบ่งให้กับผู้ทำคอนเทนท์
สรุปแล้ว Web3 คือ เทคโนโลยีที่เข้ามาแก้ไขปัญหาและ Painpoint ที่เกิดขึ้นในยุคของ Web2 ถึงอย่างไรยังต้องใช้เวลาให้ผู้ใช้งานยอมรับในคอนเซบท์ดังกล่าวก่อนถึงจะเกิด Mass Adotion ได้
—————————————————