DAO คือ รูปแบบการจัดการองค์กรแบบกระจายศูนย์กลาง หรือ Decentralized Autonomous Organizations ที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน ผู้ใช้งาน ฯลฯ ได้มีส่วนร่วมในการออกเสียงเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ โดยที่ผู้พัฒนาโปรเจกต์หรือเจ้าของไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว
ให้ผู้ถือ Governance Token มีสิทธิออกเสียง
ความแตกต่างระหว่างโปรเจกต์ด้านบล็อกเชนเช่น DeFi Protocol ต่างๆหรือ GameFi ตลอดจน NFT Community กับธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วไปก็คือคอนเซบท์ของการที่ Founders ไม่ได้เป็นผู้กำหนดแนวทางขององค์กรแต่เพียงผู้เดียว ต่างจากธุรกิจทั่วไปที่ผู้ก่อตั้งคือผู้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวหรือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่กี่รายเช่นนักลงทุน VC
บทความที่เกี่ยวข้อง : Blockchain Layer2 กับการแก้ไขปัญหา Scaling
กล่าวคือแม้จะเป็นผู้สร้างโปรเจกต์ขึ้นแต่ไม่ได้ต้องการจะเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียวแต่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมมาเป็นเจ้าของด้วยกันผ่านกลไกของ Governance Token หรือเหรียญประจำแพลตฟอร์มนั่นเอง
ตัวอย่างของเหรียญ Governance Token อย่างเช่น Uniswap มีเหรียญ UNI,MakerDAO มีเหรียญ Maker ฯลฯ ซึ่งจะได้รับจากการใช้งานแพลตฟอร์มหรือไปซื้อมาจาก Exchange ได้เช่นกัน
โดยผู้ที่ถือ Governance Token ตามจำนวนที่แพลตฟอร์มได้กำหนดไว้ตอนแรกก็จะมีสิทธิตั้งกระทู้หรือเปิดโหวตให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของแพลตฟอร์มได้ เช่น การเปลี่ยนอัตราผลตอบแทน ค่าธรรมเนียม ฟีเจอร์ต่างๆ ซึ่งหากจำนวนเสียงที่ได้มาถึงเกณฑ์ที่กำหนดทางแพลตฟอร์มจะต้องปรับเปลี่ยนตามผลการโหวตที่เกิดขึ้น
Governance Token จึงทำหน้าที่เหมือนเป็นหุ้นสามัญของบริษัทหรือแพลตฟอร์มที่ผู้ถือจะสามารถออกเสียงโหวตต่างๆได้ตามจำนวนเหรียญหรือหุ้นที่มีอยู่และอาจจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลหรือจากการ Staking นั่นเอง
โปร่งใสด้วย Smart Contract
จุดแข็งของการบริหารแบบ DAO คือเรื่องของความโปร่งใส เนื่องจากมีการนำ Smart Contract เข้ามาช่วยบริหารจัดการโดยไม่จำเป็นต้องใช้คนเข้ามาช่วยในการจัดการบริหาร เท่ากับว่าแพลตฟอร์มที่มีการวาง Smart Contract ไว้อย่างถูกต้องและได้รับการรับรองแล้วว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกอย่างจะถูกขับเคลื่อนด้วย Code ที่เขียนไว้ไม่ใช่ตัวบุคคลอีกต่อไป
Smart Contract จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยบริหารให้ทุกคนในแพลตฟอร์มที่อยู่ห่างกันและมาจากแหล่งที่หลากหลายให้สามารถอยู่ร่วมกันได้เปรียบเสมือกับเป็นกฎหมายที่ทุกคนเข้าใจและปฎิบัติตามในทิศทางเดียวกันและยังโปร่งใสเพราะไม่ได้ถูกบริหารด้วยคนๆเดียวหรือกลุ่มเดียว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ธุรกิจจะสร้างแบรนด์และรายได้จาก Metaverse ได้อย่างไร
DAO ในโลกของคริปโต
จริงแล้วโลกของคริปโตเริ่มต้นมาด้วยการใช้คอนเซบท์ของ DAO มาตั้งแต่แรกนั่นคือ Bitcoin เนื่องจากผู้ที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto ไม่ได้ถือครอง Bitcoin ส่วนใหญ่ไว้คนเดียวโดยมีเพียงแค่ 1ล้าน BTC ที่เหลือได้ทำการกระจายให้กับผู้ที่มาทำหน้าที่ยืนยันธุรกรรมหรือ Node จากการขุด ที่มีอยู่ทั่วโลก
นอกจากนี้การอัพเกรด Bitcoin หลังจากที่เปิดตัวออกมาแล้วก็มาจากชุมชนผู้ใช้งานและกลุ่มนักพัฒนาที่ร่วมกันพัฒนา Bitcoin ต่อเช่น Lightning Network โดยแต่ละคนติดต่อหากันเองไม่มีแกนนำที่คอยบริหารจัดการ ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของ DAO
หรือเคสของ Ethereum ที่สร้างขึ้นโดย Vitalik Buretin แต่ได้ส่งมอบการบริหารโปรเจกต์ให้กับ Ethereum Foundation และมี Node ที่กระจายออกไปทั่วโลกเหมือนกับ Bitcoin แม้ภาพของ Ethereum จะดูเหมือนผูกติดกับ Vitalik Buretin แต่ตัวเขาไม่ได้ถือเหรียญ ETH ไว้กับตัวแต่เพียงผู้เดียวหรือส่วนใหญ่แต่กระจายเหรียญออกไปในวงกว้าง อีกทั้งยังไม่ได้คิดตัดสินใจแต่เพียงคนเดียว แต่ให้อำนาจกับชุมชนนักพัฒนาและผู้ใช้งานร่วมตัดสินใจ
กล่าวได้ว่า Community คือปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนวงการคริปโตให้สามารถเติบโตมาได้จนถึงปัจจุบัน การให้ความสำคัญกับชุมชนผู้ใช้งานด้วยคอนเซบท์ของ DAO จึงเริ่มนนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
บทความที่เกี่ยวข้อง : Flux ผู้ให้บริการ Decentralized Cloud Server ของ Web3
แนวคิดของ Crypto City และ DAO Company
จากการที่แนวคิดของ DAO เริ่มได้รับการเผยแพร่ออกไปผ่านทางสังคมคริปโตทำให้เริ่มเห็นกระแสของชุมชนหรือสังคมในรูปแบบอื่นที่มีแนวคิดจะนำหลักการกระจายอำนาจมาใช้ในองค์กรด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะแนวคิดในการบริหารองค์กรธุรกิจที่หลายปีก่อนหน้านี้เริ่มมีแนวคิดของการลดขั้นตอนในการบริหารลงและมอบอำนาจให้พนักงานมีโอกาสในการตัดสินใจด้วยตัวเองมากขึ้นที่เรียกว่า Agile ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่ใกล้เคียงกับ DAO
เช่นเดียวกับการบริหารชุมชนบ้านเมืองรวมไปถึงระดับประเทศที่เริ่มนำแนวคิดของ DAO มาใช้ด้วยการออกโทเคนประจำเมืองไม่ว่าจะเป็นเมืองไมอามี่รวมถึงนิวยอร์คสหรัฐอเมริกาที่มีการโทเคนประจำเมืองออกมา แม้ยังไม่เห็น Use Case ที่เป็นรูปธรรมจริงจังแต่ถือได้ว่าเรื่มเห็นภาพของการนคอนเซบท์ของ DAO มาใช้
DAO คือจุดหมายปลายทางของโลกคริปโตหรือไม่
สรุป DAO คือ รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรรูปแบบหนึ่งที่หลายๆ Protocol รวมถึง Blockchain Project ตลอดจน dApps บางส่วนนำมาวางเป็นเป้าหมายในระยะยาวที่จะเข้าสู่คอนเซบท์ของการกระจายศูนย์กลางแบบสมบูรณ์แบบ โดยในช่วงแรก เจ้าของโปรเจกต์อาจจะต้องเป็น Lead ไปก่อนจากนั้นจึงจะค่อยๆลดบทบาทลงให้ Community มีอำนาจมากขึ้น
สุดท้ายแล้ว DAO จะเป็นคำตอบสุดท้ายของโปรเจกต์คริปโตได้หรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป
ฟังคลิปวิเคราะห์เรื่องอนาคตของ Web3.0 ได้ที่ลิงค์นี้