Cross-Chain คือ กลไกที่จะเข้ามาเชื่อมต่อการทำงานของบล็อกเชนในแต่ละค่ายให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมให้โลกของบล็อกเชนมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงเหมือนกับการใช้งานอินเทอร์เนตที่คนทั้งโลกสามารถเข้าถึงกันได้แม้จะมีผู้ให้บริการที่ต่างกัน
เมื่อบล็อกเชนและ dApps เกิดการแบ่งค่าย
โลกของคริปโตได้เริ่มขึ้นจาก Bitcoin ซึ่งเป็น Cryptocurrency แรกของโลก จากนั้นได้เกิดการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปพัฒนาต่อจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า Smart Contract ทำให้เกิดแอปพลิเคชั่นที่ทำงานแบบกระจายศูนย์หรือ dApps เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น DeFi,GameFi หรือ NFT โดย Ethereum ได้กลายเป็นผู้นำในเทคโนโลยีดังกล่าวนานหลายปีโดยเฉพาะในยุคของ ICO ที่การระดมทุนล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยี ERC-20
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ Tokenomic ของ GameFi แบบไหนที่จะไม่แตก
จนกระทั่งได้เกิดนักพัฒนาบล็อกเชนบางส่วนที่แยกตัวออกมาจากทีม Ethereum เพื่อมาสร้าง Blockchain Infrastructor ใหม่ของตัวเองไม่ว่าจะเป็น Polkadot,Cardano หรือเกิดทีมพัฒนารุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็น BNB Chain,Solana,Terra Chain หรือ Avalanche
จุดประสงค์ที่เกิด Blockchain ใหม่ๆขึ้นก็เพิ่มแก้ไขปัญหาของ Ethereum ที่เทคโนโลยีเริ่มล้าสมัย ทำงานช้าและค่าธรรมเนียม (Gas) มีราคาแพง และยังชูจุดขายของการสามารถที่จะช่วยยืนยันการทำธุรกรรมด้วย Proof Of Stake หรือการ Staking โดยเพียงแค่ล๊อกเหรียญของเชนนั้นๆก็จะได้รับ Reward แทนที่จะต้องลงทุนกับเครื่องขุดที่มีต้นทุนสูง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิด dApps หน้าใหม่เกิดขึ้นจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เชนของ Ethereum เพียงอย่างเดียว โดยมีจุดขายที่ค่าธรรมเนียมการใช้งานที่ถูกช่วยดึงดูดผู้ใช้งานหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่โลกของคริปโตให้เข้ามาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Pancakeswap จากค่าย BNB Chain หรือ Anchor ของค่าย Terra Chain
สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดการ “แบ่งค่าย” ของนักพัฒนาและผู้ใช้งานขึ้น เหมือนกับค่ายหนังหรือค่ายเพลงที่ต่างฝ่ายชูจุดเด่นของตัวเองเพื่อดึงแฟนคลับ จนกระทั่งหลายๆเชนสามารถมีมาร์เกตแชร์ที่ขึ้นมาเทียบเคียงกับ Ethereum ได้อย่างสูสี
บทความที่เกี่ยวข้อง : Ethereum Name Service แพลตฟอร์มสร้างเวบไซต์แบบ Decentralized
Blockchain ควรจะทำงานอย่างไร้รอยต่อ
อย่างไรก็ตาม หลักการของบล็อกเชนควรที่จะมีความเป็น Decentralized หรือไร้ตัวกลางและไม่ควรที่จะมีการแบ่งค่ายจนทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน ลองนึกภาพของอินเทอร์เนตที่เราใช้งานในปัจจุบันก็ไม่มีการแบ่งค่าย ใครที่มีแอปพลิเคชั่นหรือ Device ที่ต่างกันก็สามารถใช้งานอินเทอร์เนตได้ทั้งหมด
จึงทำให้เกิดบาง Protocol ที่อาสาเข้ามาเชื่อมต่อการทำงานระหว่างบล็อกเชนต่างๆให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ จากเดิมที่หากอยู่คนละเชนหรือคนละค่ายก็จะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถือเหรียญ BNB แต่ต้องการใช้งาน Terra Chain ก็ต้องเอา BNB ไปขายใน Exchange และแลกกลับมาเป็น UST ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวก
กลไกที่เข้ามาแก้ไขดังกล่าวก็คือ Cross-Chain ซึ่งจะเป็นตัวกลางที่รับเชื่อมต่อธุรกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างสองบล็อกเชนที่ต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้เช่นการโอนการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างกัน นักพัฒนา dApps สามารถที่จะนำกลไกดังกล่าวไปใช้เป็นเบื้องหลังของแอปพลิเคชั่นได้โดยง่ายโดยที่ผู้ใช้งานไม่เกิดการสะดุด
ข้อดีที่จะเกิดขึ้นคือผู้ใช้งานมีความสะดวกในการใช้งาน dApps ดังกล่าวโดยไม่ว่าจะถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลในเชนไหนก็ตามก็สามารถที่จะใช้งานได้โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเหรียญไปมา
นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าธรรมเนียมในการใช้งานตลอดจนช่วยให้ตลาดรวมของ dApps เติบโตขึ้นด้วยเพราะผู้ใช้งานสามารถย้ายการใช้งานระหว่างโปรเจกต์ได้สะดวกขึ้นและสภาพคล่องก็จะเพิ่มขึ้น
ที่สำคัญยังมีกลไกที่ช่วยให้ dApps ต่างๆสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลอื่นๆนอกบล็อกเชนได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทำให้มีลูกเล่นในการพัฒนา dApps ที่หลากหลาย ซึ่งเราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Oracle
บทความที่เกี่ยวข้อง : หลักการสร้าง Tokenomic สำหรับภาคธุรกิจ
แพลตฟอร์ม Cross-Chain ที่น่าจับตา
Cosmos คือ Protocol ด้าน Cross-Chain รายแรกๆโดย มีเป้าหมายเป็น “Internet of Blockchain” หรือตัวกลางที่ทำให้แต่ละเชนและ dApps ทำงานร่วมกันได้ มีโทเคนที่ซื้อขายใน Exchange ก็คือ ATOM
Band Protocol ซึ่งเป็นโปรเจกต์พัฒนาโดยคนไทยวางตัวเป็น Cross-Chain Oracle Platform ช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำข้อมูลของสินทรัพย์บนโลกจริงไปเชื่อมต่อกับ dApps ต่าง
Axelar เป็น Solution ในการสื่อสารกันแบบข้ามบล็อกเชนสามารถที่จะโอนสินทรัพย์ดิจิทัลข้ามบล็อกเชนได้ นักพัฒนาที่ใช้ Axelar จะสามารถเอา DApps หรือแพลตฟอร์ม ตัวเองไปเชื่อมกับเครือข่ายของ Axelar ได้เลยถึงแม้จะอยู่คนละเชนกัน
เรียกได้ว่า Cross-Chain คือ กลไกที่จะเข้ามาทำให้โลกของบล็อกเชนมีความเป็นอิสระไร้รอยต่อของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ผลประโยชน์ที่ได้คือนักพัฒนาที่มีโอกาสจะเปิดรับผู้ใช้งานโดยไม่จำกัดค่าย ส่วนผู้ใช้งานก็จะมีอิสระในการเลือก dApps ที่สนใจโดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องของค่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกัน ส่งเสริมให้โลกของบล็อกเชนมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงโดยไม่มีการแบ่งแยกค่าย เหมือนกับการใช้งานอินเทอร์เนตที่คนทั้งโลกสามารถเข้าถึงกันได้แม้จะมีผู้ให้บริการที่ต่างกัน
ฟังคลิปวิเคราะห์วิกฤตวับไพร์มในโลก DeFi ได้ที่ลิงค์นี้