เหรียญ Web 3.0 กำลังถูกจับตาว่าจะเป็นกระแสที่เติบโตอย่างเงียบๆท่ามกลางการตื่นตัวของ NFT และ GameFi แต่เทคโนโลยีอินเทอร์เนตกลับเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้ใช้งานมากที่สุดมากกว่างานศิลปะ การเงินและเกมส์ด้วยซ้ำ ทำให้ปี 2022 นี้เป็นปีที่ต้องจับตาว่าอินเทอร์เนตในยุคที่สามจะสามารถแจ้งเกิดได้หรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไม Web3.0 จะเข้ามาปฎิวัติโลกอินเทอร์เนตและการลงทุน
เหรียญ Web 3.0 ต่างจากเหรียญสาย Metaverse อื่นๆอย่างไร
ต้องยอมรับว่า Metaverse ที่สมบูรณ์แบบน่าจะยังไม่เห็นภายในสองถึงสามปีนี้เพราะต้องรอการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี VR และ AR ให้มีศักยภาพมากกว่าปัจจุบัน แต่เทคโนโลยีอินเทอร์เนตในยุคที่สามหรือ Web 3.0 ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง บางโปรเจกต์มีอายุมากกว่า 3-4 ปี แล้ว
เหรียญหรือโทเคนในกลุ่มนี้มีฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เนตในยุค 2.0 ไม่ว่าจะเป็น Web Browser,Video Streming,Social Media,Audio,Cloud Storage รวมถึงระบบปฎิบัติการณ์แอปพลิเคชั่น เพียงแต่ได้มีการนำบล็อกเชนเข้ามาเป็นแกนหลักของการทำงานทำให้มีความเป็น Decentralized ในตัวเอง
ฟังคลิปวิเคราะห์เหรียญเกี่ยวกับ Web 3.0 ได้ที่นี้
ถ้าหากอินเทอร์เนตในยุค 2.0 การจัดการทั้งหมดถูกบริหารโดยเจ้าของแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Youtube,Facebook ฯลฯ ต้องบอกว่าแพลตฟอร์มอินเทอร์เนตยุค 3.0 จะเป็นการกระจายอำนาจให้กับผู้ใช้งานไม่ต่างอะไรกับ GameFi หรือ DeFi ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
เทคโนโลยี Web 3.0 จึงมีความพร้อมมากกว่า Metaverse เพราะเป็นสิ่งที่คนใช้อินเทอร์เนตใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วเพียงแค่มีบล็อกเชนเข้ามาเสริมเท่านั้น จึงมีโอกาสที่จะแพร่หลายได้ทันทีถ้าผู้ใช้งานมีความเข้าใจและแพลตฟอร์มมีความเสถียร
เมื่อเข้าใจหลักการของ Web 3.0 แล้วเราไปดูกันว่ามีโทเคนหรือเหรียญอะไรบ้างที่น่าสนใจในตอนนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เจาะลึกกระแส Metaverse โอกาสทางธุรกิจมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์
Runon Flux (Flux) ระบบปฎิบัติการของ Web 3.0
ถือเป็นเหรียญดาวเด่นในกลุ่ม Web 3.0 โดยทำหน้าที่เป็นเหมือนกับผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เนตเช่นระบบปฎิบัติการ เหมือนกับเป็น Blockchain-as-a-service โดยนักพัฒนาสามารถสร้าง Web Hosting,dApps,Social Media,Game ฯลฯ ผ่านทาง FluxOS ได้ โดยการทำงานทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของ Cloud
จะว่าไป Flux ไม่ต่างอะไรกับแพลตฟอร์มบล็อกเชนรุ่นใหม่อย่าง Solana,Avalanche,Terra Chain นั่นเอง กล่าวคือวางตัวเองเป็น “ห้างสรรพสินค้า” ให้นักพัฒนามาใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ไปพัฒนาต่อได้เลย
File Coin (FIL) คลาวด์สตอเรจของ Web 3.0
ถ้าเรารู้จัก Dropbox หรือ Google Drive ก็จะเข้าใจ File Coin ได้ไม่ยากเพราะทำหน้าที่แบบเดียวกันซึ่งสามารถจัดเก็บไฟล์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ภาพ วีดีโอ หรือไฟล์เอกสาร ต่างๆได้เพียงแต่ File Coin ทำงานอยู่บนบล็อกเชนซึ่งไม่ได้ถูกควบคุมดูแลโดยเจ้าของแพลตฟอร์มแต่กระจายไปตาม Server ต่างๆแบบกระจายศูนย์
โดย File Coin เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานที่มีพื้นที่ว่างหรือ Storage เหลือสามารถนำมาเป็นแชร์เพื่อให้ File Coin นำมาใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บไฟล์แบบส่วนรวมซึ่งเราจะได้รับส่วนแบ่งจากการนำพื้นที่มาแชร์ในระบบด้วย
Basic Attention Token (BAT) เวบเบาว์เซอร์ของ Web 3.0
BAT พัฒนาโดย Brendan Eich ผู้สร้างภาษาโปรแกรม JavaScript และผู้ร่วมก่อตั้ง Mozilla และ Firefox ซึ่งเป็น Web Browser ระดับโลก โดย Brave จะเป็น Web Browser แบบ Decentralized โดยเน้นรักษาความเป็นส่วนตัวให้กับเรา
โดยเวลาที่เราใช้ Brave ในการท่องเวบไซต์ต่างๆ แพลตฟอร์มจะเก็บข้อมูลว่าเราชอบคอนเทนท์แบบไหนและจะคัดเลือกโฆษณาที่มีคอนเทนท์ตรงกับสิ่งที่เราสนใจมานำเสนอโดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะคลิ๊กเข้าชมโฆษณานั้นหรือไม่
ถ้าหากเราคลิ๊กชมโฆษณา Brave จะทำการตรวจสอบและบันทึกสถิติทั้งจำนวนโฆษณาที่ดู ระยะเวลาที่ชม จากนั้นก็จะมีตอบแทนให้กับผู้ใช้รวมถึง Content Creators ด้วยเหรียญ BAT ผ่าน Built-in Wallet ซึ่งจะจ่ายให้เป็นรายเดือน เท่ากับว่าเป็นการให้ประโยชน์ทั้งกับคนดูและคนสร้างคอนเทนท์นั่นเอง
Theta Network (THETA) แพลตฟอร์มแชร์ Bandwidth
Theta Network คือแพลตฟอร์มจะมาแก้ปัญหาเรื่องของการสตรีมวิดีโอที่มักจะมีปัญหาเรื่องของสัญญาณติดขัดโดยส่วนหนึ่งของปัญหามาจาก Bandwith ของผู้ให้บริการอินเทอร์เนตที่มีไม่พอ
Theta Network จึงเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานเข้ามาช่วยแชร์ Bandwidth ของตัวเองให้การใช้งานสตรีมมิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยได้รับส่วนแบ่งเป็นเหรียญ TDROP ขณะที่ผู้ชมคลิปจะได้รับเหรียญ TFUEL เป็นการตอบแทนด้วย โดยโปรเจกต์นี้มีผู้บริหารจากทั้ง Youtube และ Twitch ร่วมให้คำปรึกษาด้วย
Ocean Protocol (Ocean) Data Center ของ Web 3.0
ในโลกออนไลน์ Data หรือข้อมูลมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการสร้างคอนเทนท์หรือพัฒนาโปรดักต์ Ocean Protocol จะเข้ามาทำหน้าที่แปลงข้อมูลต่างๆให้เป็นโทเคนและสามารถนำมาซื้อขายกันได้โดยส่วนมากจะเป็นข้อมูลเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจับเฉพาะด้าน
การซื้อขายข้อมูลมีอยู่สองแบบคือข้อมูลที่ได้ซื้อมาแล้วสิทธิการใช้เป็นของคนซื้อรวมถึงการเปิดให้เจ้าของข้อมูลอยู่ในฐานะ Compute-to-data โดยเปิดให้คนอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ได้ขณะที่สิทธิการเป็นเจ้าของยังคงอยู่ที่ผู้สร้างข้อมูลคนแรก
The Graph (GRT) Data Visualization บน Web 3.0
ปัจจุบันการแปลงข้อมูลตัวเลขเช่นราคาเหรียญ ปริมาณการซื้อขายให้กลายเป็นรูปภาพหรือ Visualization มีบทบาทมากขึ้นในโลกออนไลน์ โดยได้สร้างฟีเจอร์ที่สามารถแปลงข้อมูลต่างๆให้กลายมาเป็นภาพกราฟและนำไปใช้งานต่อได้ง่าย นอกจากนี้ยังได้เปิด Open Source และสร้าง API ให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์นำไปใช้งานและพัฒนาต่อได้อีกด้วย
Streamr (DATA) Data Market Place ของ Web 3.0
Streamr เป็นแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่ตัวกลางซื้อขายข้อมูลต่างๆหรือ Data Market Place นอกจากนี้ยังเปิดให้ผู้ที่มีข้อมูลต่างๆเอามา Share ร่วมกันใน Pool โดยจะให้ผลตอบแทนคืนในรูปแบบของโทเคนที่นำข้อมูลมาแชร์ ซึ่งฐานข้อมูลที่มาจากหลายๆแหล่งทางแพลตฟอร์มจะนำมารวมกันเพื่อขายต่อในมูลค่าที่สูงขึ้นและจะแบ่งผลประโยชน์คืนให้กับคนที่นำข้อมูลมาแชร์
นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายการส่งข้อมูลแบบไร้ตัวกลางหรือ Peer-To-Peer ซึ่งมุ่งเน้นจับกลุ่มลูกค้าระดับคอร์ปอเรทที่ต้องการใช้ข้อมูลต่างๆ ปัจจุบัน Steamr มีพันธมิตรคือบริษัท Nokia ยักษ์ใหญ่จากฟินแลนด์
Helium (HNT) แพลตฟอร์ม IOT ของ Web 3.0
Helium คือเครือข่ายนำส่งข้อมูล Internet Of Thing หรือ IOT ซึ่งทำงานบนบล็อกเชน กระจายสัญญาณผ่าน Hotspot ซึ่งใช้พลังงานต่ำโดยผู้ที่เข้ามาช่วยในการยืนยันการทำธุรกรรมภายใต้คอนเซบท์ proof-of-coverage ซึ่งผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมจะได้รับโทเคน HNT เป็นรางวัลซึ่งสามารถนำไปจ่ายเป็นค่าใช้งานโครงข่ายได้
Audius (AUDIO) แพลตฟอร์ม Streaming เพลงบน Web 3.0
Audius ทำหน้าที่คล้ายกับ Sportify หรือ Joox กล่าวคือเป็นแพลตฟอร์ม Streaming เพลงหรือสื่อประเภทใช้เสียง ซึ่งทำงานแบบไร้ศูนย์กลางกล่าวคือ Content Creator สามารถเข้ามาสร้างสรรผลงานได้โดยไม่มีตัวกลางหรือค่ายเพลงทำให้ได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเดิม โดยผู้ถือเหรียญ AUDIO จะสามารถเข้าถึง Exclusive Feature ของแพลตฟอร์มได้
เห็นได้ว่า เหรียญ Web 3.0 มีรูปแบบการทำงานที่ใกล้เคียงกับอินเทอร์เนตที่ใช้งานกันอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นไปได้ว่าก่อนที่เทคโนโลยีของ Metaverse จะสมบูรณ์แบบ ผู้ใช้งานอินเทอร์เนตอาจจะมีโอกาสได้ใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้ก่อนซึ่งน่าจะทำให้เกิด Mass Adoption ได้อย่างรวดเร็ว เพราะอินเทอร์เนตคือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคนมากว่าการลงทุนและเกมส์
ฟังคลิปที่เกี่ยวข้อง : รีวิวตลาดคริปโตปี 2021 วิเคราะห์เทรนด์ปี 2022