ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า กลยุทธ์จัดพอร์ตการลงทุนปลายปีนี้ในสินทรัพย์ทั่วโลก เน้นหุ้นสหรัฐ ยุโรป เวียดนาม และTech จีน มั่นใจระยะยาวมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี โดยตลาดหุ้นสหรัฐ และยุโรป ได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่ง การประกาศทำการลดการเข้าซื้อพันธบัตรตามที่ตลาดคาด (QE taper without tantrum) และตลาดแรงงานสหรัฐฯฟื้นตัวดีขึ้นมากรวมถึงอัตราเงินเฟ้อสูง มีแนวโน้มยืดเยื้อจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่มีวิกฤต COVID-19 ในช่วงกลางปี 2022
อย่างไรก็ตาม Fed จะมีการส่งสัญญาณให้ตลาดทราบก่อน สำหรับตลาดหุ้นในกลุ่ม Emerging Markets มองว่า ตลาดหุ้นเวียดนาม ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หลังมีการกลับมาเปิดเมืองและภาคการส่งออกยังคงเติบโตแข็งแกร่ง สำหรับตลาดหุ้นจีนยังคงมีมุมมอง neutral โดยเน้นการลงทุนในกลุ่ม tech ด้วยมูลค่าที่ถูกและความเสี่ยงด้านกฏเกณฑ์ภาครัฐ (Regulatory risks) ที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” มองตลาดโลกโค้งสุดท้ายของปี เข้าสู่ช่วงกลางของวัฏจักร แนะลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง และกลุ่มเทรนด์โลกแห่งอนาคต
SCB CIO ประเมินหลังธนาคารกลางหลักทยอยประกาศการลดการเข้าซื้อพันธบัตร (QE tapering) ตลาดการเงินโลกจะเริ่มหันมาให้ความสนใจกับประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed มากขึ้น โดยหลังจากเริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 3/2021 โดยล่าสุด Fed ประกาศเริ่มทำ QE taper ในช่วงเดือน พ.ย. 2021 และน่าจะเสร็จสิ้นช่วงกลางปี 2022 ซึ่งตรงกับที่ตลาดคาดไว้ แต่ด้วยการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงานในสหรัฐฯ
รวมถึงอัตราเงินเฟ้อสูงที่มีแนวโน้มยืดเยื้อถึงกลางปี 2022 ทำให้ตลาดเริ่มคาดการว่า Fed น่าจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด โดย SCB CIO คาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังปี 2022F เป็นอย่างเร็ว ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วในปี 2023F สำหรับการฟื้นตัวในกลุ่มประเทศ ASEAN เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หลังการเปิดประเทศมีความคืบหน้าในช่วงไตรมาสที่ 4/2021
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากกำลังซื้อภายในประเทศ เนื่องจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจำนวนไม่มากนัก โดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งยังคงใช้นโยบาย Zero COVID policy
** คอร์สออนไลน์ “มือใหม่เริ่มลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” นอกจากเรียนทฤษฎีทางออนไลน์แล้วยังได้เรียนสดทาง Zoom กับผู้สอนทุกสัปดาห์อีกด้วย รายละเอียดคลิ๊กที่นี้
ดร.กำพล กล่าวต่อไปว่า การขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวแบบค่อยเป็นค่อยไป และผลประกอบการที่แข็งแกร่งในตลาด DM ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักสำหรับหุ้นในกลุ่ม quality growth ตลาดพันธบัตร priced-in ประเด็นอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงที่น่าจะยืดเยื้อและการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักที่จะเกิดขึ้นเร็วกว่าคาด ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นขยับขึ้นเร็วกว่าพันธบัตรระยะยาว
ในขณะที่ขนาดโครงการด้าน infrastructure ของประธานธิบดี Joe Biden น่าจะมีขนาดไม่มากเท่ากับที่เคยประกาศไว้ ทำให้การเก็บภาษีรวมถึงปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลน่าจะน้อยกว่าที่คาด SCB CIO ยังคงมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ที่ 1.6% -1.8% ช่วงสิ้นปี 2021F โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตามคือการเจรจาต่อรองเพดานหนี้สาธารณะในช่วงต้น ธ.ค. ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นในลักษณะ last minute deal
สำหรับประเด็นราคาน้ำมันในตลาดโลก แม้ยังอยู่ในระดับสูงแต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลง หลังปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมัน ปริมาณการผลิตน้ำมัน และปริมาณน้ำมันสำรองในสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว การขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่องทำให้เรายังเน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศ DM โดยเฉพาะในกลุ่ม Quality growth อย่างไรก็ตาม ความกังวลประเด็นอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงจะยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาดหุ้นทั่วโลก การมีหุ้นในกลุ่ม value ใน portfolio ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการป้องกันความผันผวนในช่วงที่ bond yields เป็นขาขึ้น
ส่วนกลยุทธ์จัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Asset Allocation Portfolio Strategy) ยังคงมีมุมมองบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ ยุโรป และเวียดนาม รวมถึงแนะนำทยอยสะสมหุ้นกลุ่ม tech ของจีน
- แนะนำเน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth ที่มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องใน core portfolio โดยมีตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่มีการฟื้นตัวต่อเนื่องหลังเปิดเมือง และผลการเลือกตั้งที่เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ ใน satellite portfolio
- ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ภาครัฐที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว รวมถึง valuation ที่น่าสนใจ SCB CIO ได้ปรับมุมมองหุ้นจีน H-share ขึ้นเป็น neutral โดยเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Tech อย่างไรก็ตามกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ยังได้รับแรงกดดันจากความพยายามของภาครัฐที่จะชะลอการเติบโตด้วยการ leverage ในอุตสาหกรรมนี้ สำหรับตลาด A-share ยังคงมุมมอง Neutral จากนโยบายมุ่งเน้นเติบโตจากภายในประเทศของจีน เช่น นโยบาย dual circulation และ common prosperity
- ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น Top pick ในตลาดหุ้น ASEAN ในมุมมองของเรา แม้ valuation เริ่มมีการขยับขึ้นมา แต่ในระยะข้างหน้าเชื่อว่าเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดจะเบียนจะมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคส่งออกตามเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงน่าจะทำให้การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่องได้เช่นกัน
- ปรับมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น neutral หลังจากที่ได้มีการ priced-in การฟื้นตัวของกำไรในไตรมาส 3/2021 และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่น่าจะช้ากว่าคาด ไปแล้ว ในระยะข้างหน้าเราเชื่อว่าการเปิดเมืองและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยทำให้อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวชัดเจนขึ้น
- คงมุมมองต่อน้ำมันเป็น neutral โดยคาดว่าจะมี upside ในช่วงที่เหลือของปีไม่มากนัก จากปัจจัยอุปทานตึงตัวที่ได้ถูก priced-in ไปแล้ว ส่วนทองคำ คงมุมมองเป็น slightly negative จากผลกระทบของ QE tapering
- ปรับมุมมอง REITs ขึ้นเป็น slightly positive โดย DM REITs มีอัตราการเช่าและค่าเช่ารวมถึงผลประกอบการที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและ Asian REITs จะได้อานิสงค์จากการเปิดเมืองที่เริ่มต่อเนื่องมากขึ้น