Yield Farming คือ

คู่มือเริ่มต้นลงทุน Yield Farming สำหรับมือใหม่

โดย SM1984

Yield Farming คือ การลงทุนบน DeFi Protocol ที่กำลังมาแรงในเวลานี้ซึ่งอาจจะเข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลมาก่อน บทความนี้จะช่วยแนะนำขั้นตอนการลงทุน Yield Farming ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู็ลงทุนมือใหม่

ทั้งนี้ขอให้ศึกษากระบวนการทำงานของ Yield Farming ให้เข้าใจเสียก่อนจะเริ่มลงทุนเพื่อให้เข้าใจถึงการสร้างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : Yield Farming สร้างผลตอบแทนอย่างไรให้ได้เลขสามหลักต่อปี

วิธีการสมัคร Metamask เพื่อเตรียมทำ Yield Farming 

เนื่องมาจาก Yield Farming คือ การลงทุนบน DeFi Protocol ซึ่งไม่มีตัวกลางคอยควบคุม ผู้ใช้งานจึงต้องรับผิดชอบธุรกรรมต่างๆด้วยตัวเองรวมถึงการสร้าง Wallet หรือกระเป๋าสตางค์อีเล็กทรอนิกส์ของตัวเอง โดย Wallet ที่ได้รับความนิยมก็คือ Metamask

Metamask คือ Wallet สำหรับเก็บเหรียญหรือ Token สาย Ethereum หรือ BNB สำหรับนำไปทำ Yield Farming สามารถเลือกติดตั้งได้บน Web Browser หรือบนมือถือก็มีทั้ง ios และ Android แนะนำให้สมัครผ่าน Web Browser อย่าง Google Chrome 

หลังจากกดติดตั้งแล้วให้เลือกไปที่ Create a Wallet ถ้าเป็นผู้ใช้งานใหม่ จากนั้นกดคลิ๊กที่ Click Hear To Reveal Secret Words ซึ่งจะเป็นรหัสที่ใช้สำหรับการ Backup และ Restore บัญชีของเรา ให้จดไว้อย่างดีอย่าให้คนอื่นรู้

Yield Farming คือ

จากนั้นให้กดเรียง Words ตามรหัสที่เราได้จดมาไว้ก่อนหน้านี้ หากเรียงถูกต้องก็จะเข้าไปตั้ง Password จำนวน 8 หลัก ก็จะสามารถสร้าง Wallet ของเราได้สำเร็จ เมื่อเข้ามาในหน้าแรกจะสามารถรองรับได้แต่ Ethereum ให้ไปคลิ๊กที่ปุ่มขวาบนที่เขียนว่า Ethereum Mainnet 

เราสามารถเพิ่มเครือข่ายบล็อกเชนอื่นเข้าไปได้ ให้เลือกที่ Custom RPC โดยเราจะทำการเพิ่ม Binance Smart Chain เป็นอีกหนึ่งทางเลือกกรอกข้อมูลของ Binance Smart Chain ตามช่องต่างๆตามนี้ กด Save ก็จะทำการเพิ่ม BSC เข้ามาใน Wallet ของเรา

เมื่อออกมาหน้าแรกก็จะเห็นว่าเราสามารถรองรับเหรียญ BNB ได้เป็นที่เรียบร้อย กดที่ปุ่ม Add Token แล้วกรอกชื่อเหรียญ BNB เข้าไป ก็จะสามารถรับโอน BNB จาก Wallet อื่นหรือจาก Binance มายัง Metamask ของเราได้ โดยมุมบนสุดจะเป็น รหัส Wallet ของเราที่จะใช้ในการโอนเหรียญเข้าออกไปยัง Binance Smart Chain ได้

หลังจากที่เราเปิดการใช้งาน Metamask แล้วก็จะสามารถโอนเหรียญจาก Exchange เข้ามาเก็บไว้เพื่อจะโอนต่อไปยัง DeFi ที่เปิดให้สามารถทำ Yield Farming ได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : พรีวิว 7 DeFi Protocol สัญชาติไทยที่น่าจับตา

อย่าลืมเรื่องค่าธรรมเนียมหรือค่า GAS

สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งาน DeFi ต้องเข้าใจคือเรื่องของค่าธรรมเนียมการใช้งานหรือค่า Gas โดยเฉพาะผู้ใช้งานบนเชนของ Ethereum สรุปแบบง่ายๆก็คือเป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้งานต้องจ่ายให้กับผู้ที่ขุด Ethereum เป็นค่าตอบแทน เหมือนกับเวลาที่เราไปใช้บริการธนาคารก็จะมีค่าธรรมเนียมที่แฝงอยู่ในค่าบริการด้วยนั่นเอง

ตั้งแต่เริ่มมี DeFi Protocol เกิดขึ้น แพลตฟอร์มเหล่านี้จะเลือกทำงานอยู่บนเชนของ Ethereum ซึ่งมีผู้ที่ใช้งานเป็นจำนวนมากและเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างเก่าทำให้ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นค่อนข้างแพง โดยเฉพาะช่วงที่มีการทำธุรกรรมบน Ethereum จำนวนมากก็จะยิ่งทำให้ค่า Gas แพงขึ้นไปอีก 

การลงทุนใน Yield Farming ก็เช่นกัน ผู้ใช้งานต้องเสียค่า Gas ซึ่งหากลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากอาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในระดับที่สูงจนทำให้ผลตอบแทนไม่ได้สูงตามที่เราคาดหวังก็เป็นได้

Ethereum Chain vs Binance Smart chain

ปัญหาค่า Gas ที่แพงนี่เองทำให้เกิดผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Binance Smart Chain ซึ่งพัฒนาโดย Binance ซึ่งเป็น Exchange รายใหญ่ของโลก ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของ DeFi Protocol โดยชูจุดขายคือค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าเชนของ Ethereum และการทำงานที่เร็วกว่า แต่บางครั้งระบบก็เกิดความรวนบ้างเช่นกันจากการที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นไม่ถึงสองปี

แพลตฟอร์มที่ให้ทำ Yield Farming จึงมักจะเปิดให้ผู้ลงทุนเลือกได้ว่าจะลงทุนผ่านเชนของ Ethereum หรือ Binance Smart Chain และปัจจุบันยังมีผู็เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาเป็นทางเลือกอีกไม่ว่าจะเป็น Terra หรือ Polygon (Matic)

ติดตามผลตอบแทนและป้องกันความเสี่ยงจากการขโมยเหรียญ

เนื่องจากผลตอบแทนจากการทำฟาร์มมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้เราอาจจะสับสนว่าสรุปแล้วเงินที่เราได้ลงไปสร้างผลตอบแทนให้เราไปแล้วเท่าไร ทำให้เกิดผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ช่วยติดตามผลตอบแทนการลงทุนให้กับเราและบางแอปฯยังสามารถช่วยเราถอนเหรียญที่ไปฝากไว้ตาม DeFi Protocol ต่างๆได้ทันทีภายในคลิ๊กเดียวและจะถูกส่งกลับเข้ามายัง Wallet ทันที โดยเฉพาะพวกฟาร์มซิ่งต่างๆที่อาจจะปิดเวบหนี

แอปพลิเคชั่นดังกล่าวเช่น JDIYield,SaveBSC และ ApeBoard ซึ่งสามารถสมัครใช้งานได้ฟรีรองรับทั้งเชน Ethereum และ BSC  และบางแอปรองรับเชนของ Terra อีกด้วย

ทำความเข้าใจผลตอบแทนแบบ APR และ APY

เมื่อเข้าไปยังแพลตฟอร์ม Yield Farming จะได้เห็นตัวเลขผลตอบแทนทั้งแบบ APR และ APY ซึ่งสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างกัน

APR (Annual Percentage Return) ก็คือผลตอบแทนประเภทที่ไม่ทบต้น วิธีการคำนวนจะใช้เงินต้นเป็นฐานเช่น เงินต้น 100 บาท ได้ผลตอบแทน APR 10% หมายความว่าเวลาผ่านไปหนึ่งปีจากเงิน 100 บาทจะเพิ่มเป็น 110 บาท นั่นเองโดยทั่วไปแพลตฟอร์ม Yield Farming มักจะแสดงผลตอบแทนเป็น APR

APR (Annual Percentage Return) ก็คือผลตอบแทนประเภทที่ไม่ทบต้น วิธีการคำนวนจะใช้เงินต้นเป็นฐานเช่น เงินต้น 100 บาท ได้ผลตอบแทน APR 10% หมายความว่าเวลาผ่านไปหนึ่งปีจากเงิน 100 บาทจะเพิ่มเป็น 110 บาท นั่นเองโดยทั่วไปแพลตฟอร์ม Yield Farming มักจะแสดงผลตอบแทนเป็น APR

APY (Annual Percentage Yield) คือผลตอบแทนแบบทบต้น พูดง่ายๆก็คือจะมีการคิดผลตอบแทนทบต้นเข้าไปในเงินต้นด้วย ตัวอย่างเช่น เงินต้น 100 บาท ให้ผลตอบแทนเดือนละ 1% ผ่านไปเดือนแรกเราจะมีเงินเพิ่มขึ้นจาก 100 บาทเป็น 101 บาท และพอเข้าสู่เดือนที่สอง เงินต้นของเราในการคำนวนผลตอบแทนเดือนที่สองจะกลายเป็น 101 บาท เท่ากับว่าสิ้นเดือนที่สองเรามีเงินอยู่ที่ 101 + 1.01 = 102.1 บาท และจำนวนนี้ก็จะเป็นฐานของการคำนวนผลตอบแทนในเดือนที่สามต่อไป

ผลตอบแทนประเภททบต้นหรือ Compound Interest จะมีผลตอบแทนที่สูงกว่าแบบผลตอบแทนแบบ APR เนื่องจากมีการนำเงินต้นมาทบเพื่อรับผลตอบแทนเพิ่ม โดย DeFi แบบ Lending หรือการปล่อยกู้มักจะคิดผลตอบแทนเป็นแบบ APY เนื่องจากต้องคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน

Impermanent Loss ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

แม้การทำ Yield Farming จะดูเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและเหมือนจะเป็น Passive Income แต่จริงแล้วยังมีความเสี่ยงสำคัญที่แฝงอยู่นั่นคือการเกิด Impermanent Loss หรือผลตอบแทนขาดทุนชั่วคราว ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการที่คู่เหรียญที่นำมาทำฟาร์มนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสวนทางกัน

ตัวอย่างเช่น นำเหรียญ BNB มาทำฟาร์มคู่กับ BTC ปรากฎว่าเหรียญ BNB ราคาปรับตัวขึ้นแต่ BTC ราคาคงที่ ทำให้จำนวนเหรียญ BNB ที่เราถืออยู่จะหายออกไปเพราะทางแพลตฟอร์มจะต้องปรับสมดุลย์ของเหรียญทั้งสองฝั่งให้มีมูลค่าที่เท่ากันนั่นเอง

หลังจากที่เข้าใจขั้นตอนของการทำ Yield Farming ทั้งหมดแล้ว สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องตัดสินใจต่อไปคือเลือกลงทุนในแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรและน่าเชื่อถือ เพราะอะไรก็ตามแต่ที่ทำงานบนโลกออนไลน์จะมีความเสี่ยงซ่อนอยู่เสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ความเสี่ยงของการลงทุน Yield Farming ใน DeFi

** คอร์สออนไลน์  “มือใหม่เริ่มลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” นอกจากเรียนทฤษฎีทางออนไลน์แล้วยังได้เรียนสดทาง Zoom กับผู้สอนทุกสัปดาห์อีกด้วย รายละเอียดคลิ๊กที่นี้

Related Posts