นักลงทุนต่างประเทศ

ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทย ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ (FOREIGN holding 2020)

โดย SM1984

Key Findings:

  • นักลงทุนต่างประเทศ สนใจตลาดหุ้นไทยมีนักลงทุนสัญชาติใหม่ๆเข้ามาในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องโดยจากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563  มีนักลงทุนต่างประเทศ 116 สัญชาติเพิ่มขึ้นสุทธิ 2 สัญชาติในตลาดหุ้นไทย
  • ณสิ้นเดือนสิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศ มีมูลค่าการถือครองหุ้นไทยรวม 3.76 ล้านล้านบาทลดลง 22.2% จากเดือนพฤษภาคม 2562 ที่สำคัญจากราคาหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลดลง
    • มูลค่าการถือครองหุ้นไทยของ นักลงทุนต่างประเทศ ลดลงในระดับใกล้เคียงกับ SET100 Index ที่ลดลงถึง  20.6% ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่ (82%) เป็นหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET100
    • นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยกว่า 291,480 ล้านบาท ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563 โดยขายทำกำไรระยะสั้นใน local share  364, 324 ล้านบาทและขายสุทธิ foreign share ที่ถือไว้เพื่อลงทุนระยะยาวเพียง 9,474 ล้านบาท ในทางกลับกันนักลงทุนต่างประเทศซื้อหุ้นสะสมผ่าน NVDR กว่า 82,228 ล้านบาทสะท้อนนักลงทุนต่างประเทศทำกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้นไทยขณะที่เชื่อมั่นบริษัทจดทะเบียนไทยยังคงถือหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว 
    • เมื่อพิจารณาการซื้อขายรายหลักทรัพย์พบว่า นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิใน 2,215 หลักทรัพย์จาก 7,179 หลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อขาย 
    • นอกจากการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยพบนักลงทุนต่างประเทศใช้สิทธิสะสมหุ้นเพิ่มเติมผ่านกิจกรรมระดมทุนทั้งการจองซื้อหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่การใช้สิทธิจองหุ้นซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนเดิมและการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญเป็นต้น

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆโดยเฉพาะเหตุการณ์แพร่ระบาดของระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019” (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลง

จากสถานการณ์ของทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก พบว่า องค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund (IMF) ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2563 ลดอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหลากหลายแต่ การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019” (COVID-19) ที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2562 กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตความอยู่รอดของธุรกิจเศรษฐกิจในทุกระดับ และขยายความรุนแรงจนในที่สุดองค์กรอนามัยโลกหรือ World Health Organization (WHO)  ได้ประกาศยกระดับการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นมีการปรับพอร์ตการลงทุนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปยังสินค้าโภคภัณฑ์  ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับลดลง 

จากการศึกษาข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ในตลาดหุ้นไทยจาก 1) ข้อมูลการปิดสมุดทะเบียนเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น 2) ข้อมูล Corporate Actions  3) ข้อมูลการระดมทุนผ่านตลาดรองของบริษัทจดทะเบียน 695 บริษัท จากทั้งหมด 712 บริษัท โดยใช้ข้อมูลล่าสุดถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกว่า 13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 98.20% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด พบประเด็นสำคัญ ดังนี้

นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มมากขึ้น (พิจารณาจากจำนวนสัญชาตินักลงทุน

โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 มีนักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 116 สัญชาติเพิ่มขึ้นสุทธิ 2 สัญชาติจากปีก่อน

จากการศึกษาพบว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 มีนักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 116 สัญชาติเพิ่มขึ้นสุทธิ 2 สัญชาติ(ภาพที่ 1) จากข้อมูลการถือครองหุ้นปีก่อน (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562) โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ มีนักลงทุนสัญชาติใหม่เข้ามาในตลาด 7 สัญชาติและออกจากตลาด 5 สัญชาติ

SET 3

ในกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนใหม่ 7 สัญชาติ (ภาพที่ 2) พบว่า นักลงทุนจากเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส นักลงทุนจากสาธารณรัฐลัตเวีย นักลงทุนจากสาธารณรัฐไนเจอร์ นักลงทุนจากนักลงทุนจากราชอาณาจักรเอสวาตีนี และนักลงทุนจากราชอาณาจักรตองกา  เคยลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่หายไปในปี 2557 ได้กลับเข้ามาใหม่ในปี 2563 ขณะที่นักลงทุนจากสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน และนักลงทุนบุคคล  จากสาธารณรัฐแซมเบีย เข้ามาในตลาดหุ้นไทยเป็นครั้งแรก โดยลงทุนในหุ้นที่มีอยู่แล้วในตลาด ไม่ได้เป็นหุ้นจดทะเบียนใหม่ ซึ่ง 97% ของมูลค่าการถือครองหุ้นเป็นการถือ NVDR และอีก 3%เป็น foreign shares

SET 2

มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยลดลงสาเหตุหลักจากราคาหลักทรัพย์ที่ลดลง

โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่  3.76  ล้านล้านบาทลดลง 22.2% จากสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 ที่สำคัญจากราคาหลักทรัพย์ (SET Index) ที่ลดลง 19.1% และการขายสุทธิกว่า 291,480 ล้านบาท

จากการประมาณการมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ พบว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 3.76 ล้านล้านบาท ลดลง 22.2% จากเดือนพฤษภาคม 2562 (ภาพที่ 4) (ที่สำคัญจากการลดลงของราคาหลักทรัพย์และการขายสุทธิ)  สัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศณสิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่  26.91% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ลดลงจาก 29.45% ในปีก่อน (สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562)

SET 4

SET Index ปรับลดลงกว่า 19%

ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 ราคาหลักทรัพย์ปรับลดลงมากเมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ 

(ตารางที่ 1) โดยSET Index ปรับลดลง 19.11% จากสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 ก่อนปรับลดลงอีก 5.62% ในเดือนกันยายน 2563 ขณะที่ SET 50 Index ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 ลดลง 21.46% จากเดือนพฤษภาคม 2562 และลดลงต่อเนื่องอีก 7.48% ในเดือนกันยายน 2563 และ SET100 ลดลง 20.55% จากสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 ก่อนปรับลดลงอีก 7.19% ในเดือนกันยายน 2563

SET 1.1

การถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นหุ้นในกลุ่ม SET100 ทาให้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคามากกว่าการเปลี่ยนแปลงของ SET Index

การเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยลดลง เนื่องจาก 82% ของมูลค่าหลักทรัพย์ในการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET100 (ภาพที่ 5) โดย 75% อยู่ในกลุ่ม SET50 และ 7% อยู่ในกลุ่ม SET51-100 ทาให้มูลค่าหลักทรัพย์ในการถือครองของนักลงทุนต่างประเทศลดลงในระดับใกล้เคียงกับการลดลงของ SET50 และ SET100 ที่ลดลงกว่า 20%

ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยกว่า 291,480 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทากาไรระยะสั้นในตลาดหุ้นไทย
ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 สิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิกว่า 291,480 ล้านบาท (ภาพที่ 6) หรือประมาณ 6% ของมูลค่าการถือครองหุ้น ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 โดยสรุปเหตุการณ์ที่มีนัยสาคัญผลต่อการซื้อขายสุทธิของ นักลงทุนต่างประเทศ ดังนี้

ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม 2562 นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิกว่า 67,470 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก MSCI ปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจากัดของการลงทุน (Investment Limits) โดยสามารถนาหลักทรัพย์ NVDR เข้ามาคานวณสาหรับ MSCI Emerging Market (MSCI EM) หรือ ดัชนี MSCI ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้หุ้นไทยโดยรวมมีสัดส่วนที่เพิ่มมาก
ขึ้นใน MSCI Emerging Market นอกจากนี้ยังปรับเพิ่มอีก 4 หลักทรัพย์จดทะเบียนไทยเป็นองค์ประกอบใน MSCI Thailand

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 – สิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิต่อ เนื่อง 13 เดือน รวมมูลค่าขายสุทธิกว่า 358,950 ล้านบาท โดยมีปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) วิกฤติการณ์ราคาน้ามัน และสงครามการค้าระหว่างประเทศ

เดือนมีนาคม 2563 นักลงต่างประเทศขายสุทธิมากที่สุด 78,363 ล้านบาท สาเหตุสาคัญจากความวิตกกังวลของนักลงทุน จากการประกาศพระราชกาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 การประกาศยกระดับการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากโรคระบาด (Epidemic) เป็น โรคระบาดใหญ่ทั่วโลก
(Pandemic) ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 และเหตุการณ์วิกฤติราคาน้ามันระหว่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และกลุ่มองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ามันออก (OPEC) ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงอย่างหนัก ซึ่งตลาดหุ้นไทยก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ส่งผลให้SET Index ปรับลดลง โดยในเดือนมีนาคม 2563 ตลาดหุ้นไทยใช้มาตรการหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (Circuit Breaker) ถึง 3 ครั้ง เท่ากับจานวนครั้ง
ในการใช้มาตรการ Circuit Breaker ในช่วง 44 ปีที่ผ่านมาของตลาดหุ้นไทย ตามรายละเอียด ดังนี้
o ครั้งที่ 1 ปี 2563 (ครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563
o ครั้งที่ 2 ปี 2563 (ครั้งที่ 5 ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563
o ครั้งที่ 3 ปี 2563 (ครั้งที่ 6 ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น
ไทย) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ตามการปรับ Circuit Breaker ชั่วคราวจาก 2 ระดับไปที่ 3 ระดับ5

– ในช่วงเดือนสิงหาคม 2562 – สิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิต่อเนื่อง 13 เดือน รวมกว่า 358,950 ล้านบาท สาเหตุสาคัญจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ที่
รุนแรงขึ้น วิกฤติการณ์ราคาน้ามันที่ราคาน้ามันลดลงอย่างหนักและสงครามการค้าระหว่างประเทศ

– นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายสุทธิต่อเนื่องจนถึงเดือนตุลาคม 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงอยู่ แต่มีข้อสังเกตว่า มูลค่าการขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าลดลงทุกเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2563 ที่นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิลดลงเหลือ 9,938 ล้านบาท ก่อนกลับมาขายสุทธิในเดือนสิงหาคม 2563
ตุลาคม 2563 จากสถานการณ์ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสอง ที่มีแนวโน้มจานวนยอดผู้ติดเชิ้อ COVID-19 สูงขึ้นในโดยเฉพาะประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศหนาวเย็นโดย ณ 31 ตุลาคม 2563 ยอดผู้ป่วยติดเชื้อกว่า 45 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนสหรัฐ และเหตุการณ์ชุนนุมในประเทศที่มีความยืดเยื้อ

นักลงทุนต่างประเทศยังคงสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทยและสร้างกำไรจากผลต่างของราคาหลักทรัพย์สังเกตได้จากพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์และการถือครองหลักทรัพย์

เพื่อให้เข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกันเกี่ยวกับพฤติกรรมนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ในการศึกษานี้จึงแยกองค์ประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1) การถือครองหุ้นในช่วงที่ทำการศึกษา 2) การซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ที่เป็นเสมือนกระแสสินทรัพย์ที่กระทบต่อมูลค่าการถือครองหุ้น 3) การใช้สิทธิผ่านกิจกรรมการระดมทุน ซึ่งพบว่า

นักลงทุนต่างประเทศสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นมากกว่า 3 ใน 4 ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศเป็นการถือครองหุ้น foreign share ที่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมฯ  

จากการศึกษาการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ พบว่า  78.68% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศถือเป็น foreign shares ที่นักลงทุนต่างประเทศจะได้ทั้งสิทธิทางการเงิน (financial benefits) และสิทธิในการออกเสียงในประชุม    ผู้ถือหุ้น (voting right)  และที่เหลือเกือบทั้งหมดประมาณ 21.32% ถือครอง NVDR ที่นักลงทุนต่างประเทศจะได้รับสิทธิทางการเงินแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงฯ และถือครอง local shares เพียงเล็กน้อยไม่ถึง 0.01% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมทั้งหมด (ภาพที่ 7) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า   นักลงทุนต่างประเทศสนใจลงทุนระยะยาวในประเทศไทยเพราะให้ความสำคัญกับสิทธิทางการเงินและสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมฯ

SET 7

นักลงทุนต่างประเทศไม่นำหุ้นกลุ่ม  foreign share มาซื้อขายเพราะมีจำนวนจำกัดตามเพดานการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ  แต่ทำกำไรระยะสั้นผ่าน local share และ NVDR  

จากข้อมูลการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563 ที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อขายรวมกว่า 14.43 ล้านบาท หรือ 37.94% ของมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งตลาด และหากพิจารณาการซื้อขายโดยแบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ตามสิทธิการออกเสียงฯ คือ foreign share NVDR และ local share พบว่า นักลงทุนต่างประเทศซื้อขายมากที่สุดในกลุ่ม local shares ที่ระดับ 49.75% ของมูลค่าการซื้อขายรวมของนักลงทุนต่างประเทศตามมาด้วยกลุ่ม NVDR 47.74% และกลุ่ม foreign shares เพียง 2.48% เท่านั้น (ภาพที่ 8) แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างประเทศทำกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้นไทยโดยซื้อขายหุ้นกลุ่ม local shares และ NVDR ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายเดียวกับนักลงทุนในประเทศ 

ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างประเทศไม่นิยมนำหุ้นกลุ่ม foreign share ออกมาซื้อขาย ด้วยสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่มีการถือครองหุ้นครบตามปริมาณหุ้นสูงสุดที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นได้ (เพดานการถือครองหุ้นฯ) แล้วและหากขาย foreign share ในพอร์ตของตนออกไป อาจไม่สามารถซื้อกลับมาได้ ประการที่สอง คือ  สภาพคล่องในการซื้อขายต่ำ เนื่องจากนักลงทุนเก็บ foreign share ในพอร์ตไม่นำมาซื้อขาย แม้ว่านักลงทุนต่างประเทศมีความต้องการที่จะซื้อหุ้นกลุ่ม foreign share แต่อาจไม่มีผู้ขาย 

SET 8

จากการขายสุทธิกว่า 291,480 ล้านบาทของนักลงทุนต่างประเทศพบว่าเป็นการขายสุทธิในหุ้นกลุ่ม local share กว่า 364,324 ล้านบาทขณะซื้อสุทธิในหุ้นกลุ่ม NVDR  สะท้อนชัดว่ามูลค่าการขายสุทธิส่วนใหญ่เป็นการขายทำกำไรระยะสั้น

จากการขายสุทธิ 291,480 ล้านบาทของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนมิถุนายน 2562  – สิงหาคม 2563 ทำให้มีประเด็นคำถามว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศหรือไม่ซึ่งจากการศึกษาพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย โดยจำแนกจำแนกกลุ่มหลักทรัพย์ตามสิทธิการออกเสียงฯ (ภาพที่ 9)  พบว่า

  • ขายสุทธิทำกำไรระยะสั้นใน local share กว่า 364,324 ล้านบาท 
  • ขายสุทธิใน foreign share ที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองไว้เพื่อลงทุนระยะยาวขายสุทธิเพียง 9,474 ล้านบาท 
  • ซื้อสุทธิสะสมใน NVDR กว่า 82,228 ล้านบาท  โดยซื้อสุทธิ 9 เดือนจาก 15 เดือน 
SET 9

แสดงให้เห็นชัดเจนว่านักลงทุนต่างประเทศขายทำกำไรจากส่วนต่างราคาจาก local share แต่ถือครอง foreign share เพื่อให้ได้รับทั้งสิทธิประโยชน์ทางการเงินและสิทธิออกเสียงฯสำหรับการลงทุนระยะยาวขณะที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิสะสมหุ้น NVDR เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินครบถ้วนและมีสภาพคล่องซื้อขายเทียบเท่ากับ local share

นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 2,215 หลักทรัพย์จากทั้งหมด 7,179 หลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขาย

ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการซื้อขาย 14.4 ล้านล้านบาท จาก 7,179 หลักทรัพย์ โดยมีสถานะเป็นผู้ขายสุทธิในตลาดไทยกว่า 291,480 ล้านบาท แต่จากการศึกษาพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ นักลงทุนต่างประเทศมีฐานะเป็นผู้ซื้อสุทธิใน 2,215 หลักทรัพย์ (ตารางที่ 2)

มูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายหุ้นสามัญ ด้วยมูลค่าการซื้อขายรวม 12.4 ล้านล้านบาท (85.9% ของมูลค่าการซื้อขาย) จากหุ้นสามัญ 798 หลักทรัพย์ มีสถานะขายสุทธิ 289,246 ล้านบาท แต่ “นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิใน 371 หลักทรัพย์” แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างประเทศมีการเลือกสะสมหุ้นสามัญบางหลักทรัพย์

“ใบสาคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” หรือ Derivative Warrants (DW) เป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อขายด้วยจานวนหลักทรัพย์มากที่สุด ด้วยจานวน 6,225 หลักทรัพย์ มีมูลค่าการซื้อขายรวม 2.0 ล้านล้านบาท และมีสถานะขายสุทธิ 2,828 ล้านบาท และมี 1,783 หลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ

“ใบสาคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ” หรือ Warrants เป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิสูงสุดรวม 597 ล้านบาท ขณะที่ “กองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์” หรือ Exchange Traded Fund (ETF) เป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีสัดส่วน “จานวนหลักทรัพย์ที่ซื้อสุทธิ” ต่อ “จานวนหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย” มากกว่าหลักทรัพย์ประเภทอื่น โดยซื้อสุทธิใน 11 หลักทรัพย์จากทั้งหมด 16 หลักทรัพย์ สะท้อนในเห็นว่า นักลงทุนต่างประเทศมีการเก็บสะสมในหลักทรัพย์กลุ่มนี้

นักลงทุนต่างประเทศสะสมหุ้นจากการใช้สิทธิและได้รับสิทธิผ่านกิจกรรมระดมทุนและกิจกรรม corporate actions 

จากการพิจารณากิจกรรมระดมทุนและกิจกรรม corporate actions ของ 31 บริษัทจดทะเบียน  ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – สิงหาคม 2563 พบว่า มีมูลค่ากิจกรรมฯ รวม 133,903 ล้านบาท พบว่านักลงทุนต่างประเทศ 34 สัญชาติได้ใช้สิทธิและรับสิทธิประโยชน์จากบริษัทจดทะเบียนรวม 18,397 ล้านบาท   โดยอันดับแรกเป็นการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนที่เสนอขายต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกของบริษัทจดทะเบียนที่จะเข้าซื้อขายในตลาด (IPO) มูลค่ารวม 9,517 ล้านบาทอันดับ 2 คือการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,303 ล้านบาท อันดับที่ 3 คือ การแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrant) เป็นหุ้นสามัญ 2,440 ล้านบาท และอันดับสุดท้าย การปันผลเป็นหุ้นสามัญ 137 ล้านบาท (ตารางที่ 3)

กล่าวโดยสรุปจากพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์และพฤติกรรมการถือครองหลักทรัพย์สะท้อนว่านักลงทุนต่างประเทศยังสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย”  โดยถือ foreign share มากกว่า 3 ใน 4 ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศและนำมาซื้อขายน้อยมาก  ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจซื้อขาย  local shares และ NVDR เนื่องจากสภาพคล่องสูงเพื่อทำกำไรระยะสั้น

นอกจากผลการศึกษาข้างต้นแล้ว  ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่มีข่าวความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่บริษัทยาชั้นนำทั่วโลกทดลองวิจัยและพัฒนาวัคซีนได้รับผลดีกว่าที่คาดทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นกระแสเงินจากต่างประเทศไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์ต่างๆโดยในเดือนพฤศจิกายน 2563 นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยเป็นเดือนแรกในรอบ 16 เดือน (นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562) ด้วยมูลค่าซื้อสุทธิ 32,506 ล้านบาทขณะที่ SET Index เพิ่มขึ้น Index ปิดที่ 1,408.31 จุดหรือเพิ่มขึ้น 213.36 จุดในเดือนเดียวคาดว่าปัจจัยบวกจากราคาหลักทรัพย์จะปรับเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7% ใกล้เคียงการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 7% ของ SET100 Index 

บทความโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : KKP Research เผยตลาดหุ้นไทยยังติดหล่ม Old Economy ยังขาดบริษัทเทคโนโลยี

Related Posts