ประกันสุขภาพ กำลังมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆจากโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆมีเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการมีโรคประหลาดต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ รวมถึงการแตกตัวของสายพันธุ์ของโรคอีกด้วย ส่งผลให้แนวโน้มค่ารักษาพยาบาลมีแต่สูงขึ้นๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกประเทศทั่วโลก
สำหรับคนไทย ที่มีปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยาก และต้องยอมรับว่า มึความเหลือมล้ำอยู่ในระดับสูงมาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลโดยรวม นับวันมีแต่สูงขึ้นๆ
โดยเฉพาะค่ารักษาและยาในโรงพยาบาลเอกชน เรียกว่าแพงหนักมาก เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงขึ้นไป อีกทั้งมีความสามารถในการซื้อ ประกันสุขภาพ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการรักษาตัว ได้ดีระดับหนึ่ง
ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาคนไทยมีการซื้อ ประกันสุขภาพ กันเพิ่มขึ้นกว่าอดีต สะท้อนจากการเติบโตปี 2561 ยอดเบี้ยประกันสุขภาพเติบโตถึง 11% สูงกว่าประกันทั่วๆไป และถือเป็นหนึ่งในประเภทของการประกันภัย ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด
ล่าสุด เบี้ยประกันสุขภาพประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท และจำนวนกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่มีผลบังคับใช้มีจำนวนมากกว่า 4 ล้านฉบับ
ปัจจุบันคนไทยที่ทำประกันสุขภาพมีสัดส่วนเพียง 7% ของจำนวนคนไทยทั้งหมดเท่านั้นเอง
ประกันสุขภาพ คือการซื้อประกันสำหรับการจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันหรือผู้ซื้อ ซึ่งเบี้ยจ่ายแต่ละปีจะมีผลคุ้มครองในช่วงระยะเวลาปีต่อปีเท่านั้น หากไม่ได้มีการเจ็บป่วยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ซื้อไป เมื่อครบปี จะถือว่าสิ้นสุดการคุ้มครอง
รูปแบบประกันสุขภาพมีการให้ความคุ้มครองทั้ง ประกันสุขภาพผู้ป่วนใน (IPD) ,ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) ,ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR) ,ประกันอุบัติเหตุ (PA) และประกันชดเชยรายได้
บริษัทประกันที่เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพจะออกแบบผลิตภัณฑ์ผสมสูตรให้ครอบคลุมการจ่ายชดเชยความคุ้มครองต่างๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันจึงเห็นผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพมีหลากหลายแบบให้เลือก และมีรับประกันสุขภาพตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงคนสูงอายุ
ดังนั้น การทำประกันสุขภาพ จะมีเงื่อนไขที่ละเอียดอ่อนมาก ซึ่งจะมีข้อดีข้อด้อยในแต่ละแบบประกันที่แตกต่างกันไปตามที่บริษัทประกันได้ออกแบบมาให้เลือกซื้อ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิต ออกแบบประกันสุขภาพมาขายเป็นที่คึกคัก
จุดอ่อนของประกันสุขภาพที่คนไทยยังไม่อยากซื้อ เนื่องจากซื้อเบี้ยเป็นรายปี เมื่อครบปี เบี้ยจะหมดความคุ้มครองทันที หากไม่ได้เจ็บป่วยมีการเบิก คนซื้อที่มองในมุมเสียดายเงิน ก็จะไม่อยากซื้อ แต่หากมองในมุมของคนที่ต้องการความอุ่นใจเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดจนเกิดการรักษาตัวหรืออุบัติเหตุ หรือมีความสูญเสียทางธุรกิจขึ้น
ประกันสุขภาพ จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ลดลงได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดความกังวลต่อความไม่มั่นคงของชีวิตได้พอสมควร อีกจุดอ่อนคือ กระบวนการเบิกค่าชดเชยจากการใช้จ่ายรักษาตัว ของบริษัทประกันในไทยจะมีความยุ่งยากในการพิสูจน์มาก
และบางครั้งบริษัทประกันไม่ยินยอมให้เบิกได้ จึงทำให้คนซื้อรู้สึกถูกเอาเปรียบ หรือบางรายมีการเบิกค่าใช้จ่ายสูง และบริษัทประกันรายนั้นไม่ยินยอมต่ออายุให้ ซึ่งทำให้ผู้ซื้อประกันสุขภาพเสียโอกาสไปโดยปริยาย
ประกันสุขภาพแถมยังนำมาลดหย่อนภาษีได้
รัฐบาลส่งเสริมให้คนไทยทำประกันสุขภาพ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงได้ให้นำเบี้ยประกันสุขภาพมาหักลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาทภายใต้วงเงินหักลดหย่อนภาษีประกันชีวิตรวม 100,000 บาท
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้วางแนวทางยกระดับมาตรฐานความคุ้มครองของแบบประกันสุขภาพ ออกมา
ประเทศไทยอีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2565 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ โดยมีสัดส่วนประชากรสูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับ supper age socity ในปี 2578 คือ มีประชากรผู้สูงอายุ 30% ของประชากรทั้งหมด
เป็นผลให้แนวโน้มค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะคนวัยเกษียณ จะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความรุนแรงของโรคภัยต่างๆที่มีมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการหลักประกันด้านสุขภาพ เพิ่มสูงขึ้น แม้แต่ภาคเอกชนก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ปรับรูปแบบการเสนอขายประกันสุขภาพใหม่ในปี 2563
ปัจจุบัน บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต ต่างก็ต้องการเข้ามาจับกลุ่มลูกค้าประกันสุขภาพเพราะเป็นตลาดที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง ด้วยปัญหา 2 มาตรฐานของแบบประกันสุขภาพ
คปภ. จึงได้เตรียมบูรณาการใหม่ เพื่อยกระดับประกันสุขภาพสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยขณะนี้ได้ดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ถือประกันสุขภาพ ประกอบด้วย
เรื่องแรก “ตารางผลประโยชน์” ต่อไปทุกบริษัทจะต้องกำหนดหมวดความคุ้มครอง 13 หมวดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ในฝั่งประกันวินาศภัยหรือประกันชีวิตก็ตาม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และลดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ซ้ำซ้อน
ที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบผลประโยชน์ความคุ้มครอง และเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสมตรงตามความต้องการของตัวเอง
เรื่องที่สองการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ จะมีการกำหนดเงื่อนไขการต่ออาอุสัญญาไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ซื้อมีหลักประกันสุขภาพที่มีความต่อเนื่องชัดเจนและเป็นธรรม โดยเฉพาะจะช่วยการลดข้อร้องเรียนยกเลิกแลไม่ต่ออายุสัญญากรมธรรม์
เรื่องที่สามการปรับเบี้ยประกัน คปภ.จะกำหนดให้บริษัทจะต้องระบุชัดเจน ว่า ในการพิจารณาปรับเบี้ยหรือลดเบี้ยประกันภัย จะพิจารณาจากสถิติการปรับประกันสุขภาพโดยรวมของทั้งพอร์ต ซึ่งจะไม่ใช่การพิจารณาปรับเบี้ยเพิ่มจากการเคลมเป็นรายบุคคล
ปัจจุบันยังทำกันแตกต่างกันอยู่ พอใครเคลมมาก บริษัทประกันจะไม่ต่ออายุให้ลูกค้ารายนั้น ตอนนี้ มีประชาชนเดือดร้อน และร้องเรียนมาสู่คปภ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบปกสุขภาพ ลดน้อยลง ซึ่งถือเป็นหัว่ใจสำคัญของประกันสุขภาพ
เรื่องที่สี่ สภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกันภัย ที่ผ่านมาแต่ละบริษัทประกันจะนับเวลาสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันที่แตกต่างกัน ดังนั้น คปภ. จึงกำหนดให้บริษัทประกันมีแนวปฏิบัติในการนับระยะเวลาที่เหมือนกัน ซึ่งจะลดปัญหาผู้ซื้อประกันแล้วมีความยุ่งยากกว่าจะเคลม เงินคืนจากบริษัทประกันได้
พร้อมกันนี้มีการปรับเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลที่มีการทำผ่าตัดและหัตถการในห้องผ่าตัด ซึ่งได้ปรับผลประโยชน์เก็บค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดให้สอดคล้องกับแพทย์สภาพกำหนดด้วย รวมทั้งการคุ้มครองการผ่าตัดใหญ่ ที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยในกรณีมีการผ่าตัดได้โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
อีกเรื่องสำคัญที่ คปภ. ได้ผลักดันในขณะนี้คือการทำโครงการประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเสนอให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว
นอกจากนี้ คปภ.ยังได้หารือหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ ที่ให้ครอบคลุมประกันการรักษาพยาบาลได้ทั้งระบบ ตั้งแต่ก่อนการรักษาตัวในโรงพยาบาล ช่วงรักษาตัวในโรงพยาบาล และการดูแลในช่วงหลังออกจากโรงพยาบาล
หากกรณีผู้ถือประกันสุขภาพ ตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพหรือพิการ ยังมีความจำเป็น จะต้องมีการดูแลหรือทำกายภาพบำบัดในระยะยาว ทั้งนี้ คปภ.กำลังหารือร่วมกับภาคธุรกิจประกันในการดำเนินการออกมา
ดังนั้นแบบประกันสุขภาพจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีมาตรฐานการคุ้มครองที่ดีขึ้น สำหรับผู้บริโภคซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น สำหรับคนที่สามารถจัดสรรเงินส่วนหนึ่งมาซื้อประกันสุขภาพเพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงภาระค่าใช้จ่ายหากเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา
ขณะเดียวกันผู้ขาย ประกันสุขภาพ จะออกแบบประกันสุขภาพมาให้เลือกซื้อรูปแบบความคุ้มครองที่หลากหลายมากขึ้น และอาจจะเห็นเรื่องของราคาเบี้ยที่อยู่ในระดับที่สอดรับกับกำลังความสามารถหรือการหารายได้ของผู้ซื้อด้วย เพราะตลาดระดับกลางลงมาระดับล่าง
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : ทิสโก้เวลธ์เปิดทริกเลือกประกันสุขภาพสูงวัย เตือนค่ารักษาเพิ่ม 2 เท่าทุก 8-10 ปี