จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% ลดหรือเพิ่มภาระกันแน่??

โดย SM1984

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือบรรดาธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ให้บริการบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ช่วยลดเพดานการ จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% ลงมาเหลือ 5% แต่คำถามคือการจ่ายขั้นต่ำเพียงเท่านี้จะช่วยลดภาระเพียงระยะสั้นหรือสร้างภาระเพิ่มระยะยาวกันแน่??

ในแง่ของข้อดีก็ช่วยลดภาระรายย่อยในการผ่อนชำระต่อเดือน อย่างน้อยก็พอจะมีเงินส่วนหนึ่งไปใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นอย่างอื่น ในภาวะที่หลายคนชักหน้าไม่ถึงหลัง มีภาระค่าใช้จ่ายมากมายไปหมด จนไม่รู้ว่ารายได้ที่รับแต่ละเดือนจะเอาไปชำระหนี้ก้อนไหนก่อนดี

แต่เรื่องนี้มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียในมุมของผู้ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต  การลดเพดาน จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต อาจช่วยลดภาระผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนก็จริง  แต่อย่าลืมว่าการจ่ายเพียงขั้นต่ำนั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือ “ดอกเบี้ย”  และหากยิ่งยืดเวลาการจ่ายนานเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่คิดเป็นตัวเงินก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น

วิธีคิดดอกเบี้ยจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต

สิ่งแรกที่คุณควรรู้คือ อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นค่อนข้างสูง (สูงสุดไม่เกิน 20%) และการคิดดอกเบี้ยจะถูกคิดเป็น 2 ส่วน  คือ ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย และดอกเบี้ยที่ค้างชำระ

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้นคงเหลือ X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันในงวด / จำนวนวัน 1 ปี

ยกตัวอย่าง หากคุณรูดซื้อของในวันที่ 5 มกราคม จำนวน 20,000 บาท  โดยมีรอบปิดยอดการใช้จ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน  พอถึงวันที่ 28 มกราคม คุณตัดสินใจ จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 10% เป็นจำนวน 2,000 บาท 

ในรอบบิลแรกดอกเบี้ยจะยังไม่ถูกคิด แต่ในการปิดรอบการใช้จ่าย 25 กุมภาพันธ์ สิ่งที่จะปรากฎให้เห็นก็คือ “ดอกเบี้ย”

โดยดอกเบี้ยก้อนแรกคือ ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย คิดจากวงเงินที่รูดคือ 20,000 บาท จากวันที่รูดจนถึงวันที่ปิดยอดใช้จ่ายรวม 10 วัน (5 – 25 มกราคม) ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 20%

ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย = 20,000 บาท X ดอกเบี้ย 20% X 10วัน / 365 วัน = 109.58 บาท

ส่วนดอกเบี้ยก้อนที่สอง คือ ดอกเบี้ยค้างชำระ คิดจากเงินต้นคงเหลือ 18,000 บาท (20,000 บาท ลบด้วย 2,000 บาทที่จ่ายขั้นต่ำไป) โดยคิดจากวันที่เราชำระไปคือ 28 มกราคม ถึงวันปิดยอดในรอบล่าสุดคือ 25 กุมภาพันธ์ รวม 29 วัน ด้วยดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 20%

ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ = 18,000 บาท X ดอกเบี้ย 20% X 29 วัน / 365 วัน = 286.02 บาท

ดังนั้นเมื่อรวมดอกเบี้ยทั้งสองก้อน เท่ากับว่าคุณต้องจ่าย 109.58 + 286.02 = 395.60 บาท  

ถ้าจ่ายแค่ขั้นต่ำ ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยถูกยกเลิก

กรณีที่ในรอบบิลต่อมา (26 มกราคม – 25 กุมภาพันธ์) คุณไม่ได้มียอดค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น  การคิดดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่ยกตัวอย่าง แต่ถ้าเกิดมียอดใหม่เกิดขึ้น ยอดที่รูดนั้นจะถูกคิดดอกเบี้ยทันที  เพราะการที่เรา จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ เราจะถูกยกเลิกระยะเวลาผลอดดอกเบี้ยในรอบบัญชีถัดไปด้วย  

ดังนั้นหากคุณใช้จ่ายในรอบบัญชีถัดไปหลังจ่ายขั้นต่ำ ยอดนั้นจะถูกคิดดอกเบี้ยทันที  สมมุติว่าคุณใช้จ่ายอีก 5,000 บาท ในรอบบัญชี 26 มกราคม – 25 มกราคม เงินต้นที่จะถูกคิดดอกเบี้ยค้างชำระ จะกลาย 18,000 + 5,000 = 23,000 บาททันที

หากลดเพดานการจ่ายขั้นต่ำลงมาเหลือ 5% สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงคือ ดอกเบี้ยค้างชำระ ในกรณีนี้หากคุณจ่ายขั้นต่ำ 5% ด้วยเงิน 1,000 บาท  นั่นเท่ากับว่าเงินต้นที่ถูกคำนวณคือ 20,000 – 1,000 = 19,000 บาท

ดอกเบี้ยค้างชำระที่คุณต้องจ่าย = 19,000 X 20% X 29 วัน / 365 วัน = 301.91 บาท

เมื่อเทียบกับการ จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 10% กับ 5% ดอกเบี้ยต่างกัน 15.89 บาท  แม้จะดูเป็นจำนวนไม่มาก สำหรับบางคนที่มีภาระไม่สามารถจ่ายเต็มวงเงินได้จริงๆ อาจเป็นตัวเลขที่พอจะยอมรับได้  ได้การช่วยยืดเวลาหาเงินมาจ่ายหนี้

แต่เมื่อลดวงเงินจ่ายขั้นต่ำ สิ่งที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ดอกเบี้ย  แต่มันยังหมายถึงจำนวนงวดในการชำระก็จะยิ่งยืดยาวตามไปด้วย  และยิ่งเหลือเงินค้างชำระ ก็ยิ่งถูกคิดดอกเบี้ยวนไปเรื่อยๆ อยู่นั่นเอง

ดังนั้นทางที่ดีที่สุด  แนะนำว่าควรหาเงินปิดยอดค้างชำระที่อยู่ให้หมด จะเป็นการดีที่สุด เพื่อตัดวงจรดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง  หรือควรจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำ  เพื่อลดเงินต้นที่จะถูกคำนวณในรอบบิลถัดไป  

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : 5 ข้อคิดทางการเงินที่ควรทำทันทีหลังเกิดวิกฤติโควิด-19

Related Posts