ปี 2563 คาดว่าจะมี 19 บริษัทที่เข้าเสนอขายหุ้น IPO โดยมีบริษัทเด่นอยู่ 2 แห่งได้แก่เซ็นทรัลรีเทลคอร์ปอเรชั่นในเครือ CPN และเอสซีจีแพคเกจจิ้งในเครือ SCC ส่วนหลังIPO ผลดำเนินงานจะรุ่งหรือร่วงนั้นยังเป็นเรื่องที่เหล่านักลงทุนยังต้องติดตามกันต่อไป
ปี 2562 มีบริษัท ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมทั้งสิ้น 33 บริษัท แบ่งเป็นจดทะเบียนใน SET 13 บริษัท, IFF 1 บริษัท, PFUND/REIT 3 บริษัท และ mai 16 บริษัท รวมมูลค่าระดมทุน 90,508 ล้านบาท และรวมมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาIPO กว่า 382,459 ล้านบาท
ทั้งนี้ มูลค่าระดมทุน และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO ของปี 2562 ถือว่าเติบโตขึ้นจากปี 61 พอสมควร ซึ่งปี 61 มูลค่าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ที่ 81,572 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO อยู่ที่ 183,140 ล้านบาท ทำให้หลายคนเริ่มสนใจแล้วว่าการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯปี 63 จะเป็นเช่นไร
สำหรับ ปี 2563 คาดว่ามีบริษัทที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชนทั่วไป (IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กว่า 19 บริษัท โดยมีการเสนอขายหุ้นรวมกันประมาณ 5,818 ล้านหุ้น โดยทั้ง 19 บริษัทที่เตรียมเสนอขาย IPO ในปี 63 ประกอบด้วยดังนี้
1.โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัลแคร์แอนด์แล็บ จำนวน 55 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 3 ธ.ค.61
2.อิ๊กดราซิลกรุ๊ปจำนวน 45 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 6 ส.ค.62
3.ซัคเซสมอร์บีอิ้งค์ จำนวน 150 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 5 เม.ย.62
4.เลเท็กซ์ซิสเทมส์ จำนวน 132.43 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 4 ธ.ค.61
5.สบายเทคโนโลยี จำนวน 117.017 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 5 เม.ย.62
6.บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำนวน 90 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 29 เม.ย.62
7.ซิลิคอนคราฟท์เทคโนโลยี จำนวน 100 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 3 พ.ค.62
8.สยามราชธานี จำนวน 85 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 7 ส.ค.62
9.สยามเทคนิคคอนกรีต จำนวน 203.50 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 8 ส.ค.62
10.ศรีนานาพรมาร์เก็ตติ้ง จำนวน 260 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้น IPO ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 11 ก.ย.62
11.ไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ จำนวน 109.30 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 24 ก.ย.62
12.เคแอนด์เคซุปเปอร์สโตร์สเซาท์เทิร์น จำนวน 69 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 27 ก.ย.62
13.เซ็นทรัลรีเทลคอร์ปอเรชั่น จำนวน 2,231.71 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 1 ต.ค.62
14.สามารถเอวิเอชั่นโซลูชั่นส์ จำนวน 64 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 8 ต.ค.62
15.ศิรกร จำนวน 115.35 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 21 ต.ค.62
16.แอดเทคฮับ จำนวน 40 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 18 พ.ย.62
17.ศรีตรังโกล์ฟ (ประเทศไทย) จำนวน 444.78 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้น IPO ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 2 ธ.ค.62
18.ทางยกระดับดอนเมืองจำนวน 140 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอ ให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 5 ธ.ค.62
19.เอสซีจีแพคเกจจิ้ง จำนวน 1,374 ล้านหุ้น โดยมีการยื่นคำร้องเสนอขายหุ้นไอพีโอให้ ก.ล.ต.พิจารณาเมื่อ 16 ธ.ค.62
อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามกันต่อว่าหุ้น IPO ปี 2563 ของบริษัทใดจะโชว์ฟอร์มได้ดีบ้าง เนื่องจากช่วงหลัง ๆ หุ้น IPO มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากเท่าใดนัก โดยปี 2562 มีเพียงแค่ บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF เท่านั้นใน SET ที่สามารถสร้างการเติบโตให้ราคาหุ้นที่เสนอขายได้ 32.12% ซึ่งถือเป็นอัตราเติบโตสูงสุดใน SET ของปี 2562
ส่วนใน mai มีเพียง บริษัท โกลบอล เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GSC ที่สร้างการเติบโตสูงสุดของราคาหลังเสนอขายได้ 47.06%