DeFi Protocol คือ

บล็อกเชนโครงสร้างพื้นฐานของ DeFi Protocol

โดย SM1984

DeFi Protocol คือ dApps รูปแบบหนึ่งที่นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดขึ้นทั้งหมดเองแต่ได้มีนักพัฒนาบล็อกเชนได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แล้ว ผู้ที่ต้องการสร้างโปรเจกต์ของตัวเองเพียงแค่นำโค้ดที่อยู่ในรูปแบบของ Open Sources ไปพัฒนาต่อได้เลย โดยสามารถเขียน Smart Contract ขึ้นมาบริหารจัดการ Protocol ของตัวเอง

ผู้พัฒนาเชนต่างๆจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดนักพัฒนาโปรเจกต์ต่างๆให้มาใช้เชนของตัวเองไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่รวดเร็วหรือโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดยุ่นต่อการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ยิ่งมีจำนวนโปรเจกต์ที่ใช้เชนเหล่านั้นมากเท่าไรก็จะเกิดรายได้กับเชนนั้นๆมากเท่านั้น

ปัจจุบันได้มีเชนใหม่ๆเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและต่างฝ่ายต่างชูจุดแข็งของตัวเองขึ้นมาแข่งขันกัน ไปดูกันว่ามีเชนไหนบ้างที่น่าจับตาในเวลานี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : กระบวนการสร้าง Stablecoins ในโลกของ DeFi

Ethereum

เป็นเชนที่เป็นจุดเริ่มต้นของ DeFi Protocol ต่างๆอย่างแท้จริง โปรเจกต์แทบทั้งหมดล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน ERC-20 อย่างไรก็ตามค่า Gas ที่ค่อนข้างแพงและการทำงานที่ช้าลงทำให้นักพัฒนารุ่นใหม่ๆพยายามกระจายโปรเจกต์ไปยังเชใหม่ๆแทน

อย่างไรก็ตาม Ethereum กำลังอยู่ระหว่างการอัพเกรดเข้าสู่การเป็น ETH2.0 ซึ่งจะเพิ่มคุณสมบัติของการ Staking , ลดจำนวนซัพพลายที่เกิดใหม่ด้วยการเผาและทำให้ค่า Gas ถูกลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ DeFi Protocol ใหม่ๆที่ผู้ใช้งานจะเสียค่าธรรมเนียมที่ถูกลงและมีฟีเจอร์ใหม่ๆให้ได้ใช้งาน

Binance Smart Chain

พัฒนาขึ้นโดย Binance ซึ่งเป็น Exchange ใหญ่อันดับต้นๆของโลกซึ่งทำการ Copy Code จาก Ethereum มาจึงมีคุณสมบัติเดียวกับเชน Ethereum แต่อาศัยจุดแข็งที่อยู่ภายใต้ Exchange ที่มีจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมากตลอดจนค่าธรรมเนียมการใช้งานที่ถูกกว่า

หลายๆ DeFi Protocol จึงได้เพิ่มเชน BSC ให้ผู้ใช้งานได้มีทางเลือกหรือบางโปรเจกต์อย่างเช่น Pancakeswap ก็เลือกที่จะใช้เชนของ BSC ในการใช้งานเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม BSC ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความเป็น Centralized ค่อนข้างสูงเนื่องจากพัฒนาและบริหารจัดการโดย Binance และมี validator nodes เพียง 21 Nodes ซึ่งมีจำนวนน้อยก่อนไป อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้งานมีความมั่นใจใน Binance ก็จะมีความเชื่อมั่นในการใช้งาน BSC ด้วย

Cardano

เป็นเชนที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยค่อยๆอัพเกรดตัวเองให้มีฟีเจอร์ที่สมบูรณ์แบบขึ้นเช่นการ Staking,Smart Contract ประกอบกับกลยุทธ์ของนักพัฒนาต้องการที่จะเปิดทางให้กับสถาบันการเงินดั้งเดิมได้เข้าถึงโลกของ DeFi อย่างไรก็ตามยังไม่ได้เห็น DeFi Protocol หันมาใช้เชนของ Cardano ในการพัฒนามากนัก จึงต้องจับตาว่า Cardano จะสามาถเบียดแย่งพื้นที่เพิ่มเติมมาได้หรือไม่

Polkadot

เป็นเชนที่ชูจุดขายของการที่สามารถเชื่อมต่อกับเชนอื่นๆได้สะดวกด้วยการปรับเปลี่ยนโค้ดเพียงเล็กน้อย ภายใต้สโลแกน Connecting The Dot อย่างไรก็ตามยังไม่ได้เห็น DeFi Protocol หันมาใช้ Polkadot ในการพัฒนามากเท่าไรนัก

Solana

เป็นเชนที่กำลังมาแรงจากการได้รับสนับสนุนโดย FTX ซึ่งเป็น Exchange รายใหญ่ของสหรัฐฯ มีจุดแข็งที่เทคโนโลยี proof of history ซึ่งทำให้การทำงานของแต่ละ Node มีความรวดเร็วขึ้น 

ทั้งนี้ Solana มีข้อเสียคือนักพัฒนาต้องเขียนโค้ดใหม่ทั้งหมดแทนที่จะได้ใช้โค้ดที่ทางเชนพัฒนาขึ่นให้นำไปใช้งานได้ง่ายรวมถึงต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลผลจึงเป็นต้นทุนที่นักพัฒนาต้องแบกรับ

ขณะที่ค่าธรรมเนียมใช้งานของ Solana อยู่ในระดับที่ถูกมากซึ่งแม้ว่าจะช่วยดึงดูดนักพัฒนาให้เข้ามาใช้งานแต่ข้อเสียคือโปรเจกต์ก็จะสร้างรายได้ในระดับที่ต่ำไปด้วย 

Polygon Network

ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ Matic Network เป็นหนึ่งในเชนที่ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วจากการที่ DeFi Protocol ชั้นนำอย่าง Aave, SushiSwap และ Curve หันมาใช้งานจากการที่มีฟีเจอร์ Side Chain กับ Ethereum กล่าวคือผู้ที่มีเหรียญ ETH สามารถนำมาทำธุรกรรมบนเชนของ Polygon Network ได้ จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้งาน โดยมีเหรียญ Matic ทำหน้าที่เป็น Governance Token

Terra Chain

เป็นบริษัทบล็อกเชนจากเอเชียรายเดียวที่แข่งขันกับเชนที่เป็นนักพัฒนาจากฝั่งตะวันตก โดย Terra Chain ตั้งอยู่ในประเทศเกาหลีใต้และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการทดลองใช้ Stablecoins UST ที่อ้างอิงกับ Fiat Currency สกุลต่างๆในการใช้จ่ายภายในประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของ DeFi Protocol คือ สาย Lending อย่าง Anchor รวมถึงสาย Synthetic Asset อย่าง Mirror ซึ่งสามารถทำ Yield Farming กับสินทรัพย์ดิจิทัลที่อ้างอิงกับหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ โดยมีเหรียญ LUNA ทำหน้าที่เป็น Governance Token 

นอกจากชื่อที่กล่าวมายังมีเชนอื่นๆในตลาดไม่ว่าจะเป็น Ziliqa,Avalanche,NEAR,Cosmos ฯลฯ ที่กำลังเร่งพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆขึ้นมาแข่งขันและอนาคตก็อาจจะมีนักพัฒนาหน้าใหม่ที่สร้างเชนใหม่ขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของ dApps อย่าง DeFi และ NFT ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้วงการบล็อกเชนเติบโตยิ่งขึ้นไปอีก

** คอร์สออนไลน์  “มือใหม่เริ่มลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” นอกจากเรียนทฤษฎีทางออนไลน์แล้วยังได้เรียนสดทาง Zoom กับผู้สอนทุกสัปดาห์อีกด้วย รายละเอียดคลิ๊กที่นี้

Related Posts