นักลงทุนรายย่อย

SET Note เผยนักลงทุนรายย่อยครองสัดส่วน 73% ของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ นักเก็งกำไรมีสัดส่วน 45% กลุ่มลงทุนยาว 55%

โดย SM1984

นักลงทุนรายย่อย เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วยสัดส่วนกว่า 73% ปีนี้ถือเป็นปีที่นักลงทุนหน้าใหม่แห่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับโบรกเกอร์สูงสุดในรอบหลายปี

Key Findings:

  • ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีบัญชีที่เปิดเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์กว่า 3.32 ล้านบัญชีในตลาดหุ้นไทย   เพิ่มขึ้นกว่า 554,000 บัญชีจากสิ้นปีผ่านมาซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ปกติเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 230,000 ถึง 330,000 บัญชี)และมีนักลงทุนรวม 1.45 ล้านรายเพิ่มขึ้น 13.68% จากเดือนมกราคม 2563
  • จากข้อมูลการปิดสมุดทะเบียนของบริษัทจดทะเบียนไทย จำนวน 695 บริษัท พบว่าณสิ้นเดือนสิงหาคม 2563 ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนในประเทศที่ 73%  และการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนต่างประเทศที่ 27% ซึ่งใกล้เคียงกันกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นและตลาดหุ้นไต้หวัน  
  • เมื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการพบว่าตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนกลยุทธ์ (strategic investors) อยู่ในระดับใกล้เคียงกับนักลงทุนรายย่อย (free float) โดยนักลงทุนกลยุทธ์ถือครองหุ้น 55% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดขณะที่           นักลงทุนรายย่อย ถือครองหุ้นในส่วนที่เหลือคือ 45% แสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นไทยมีทั้งนักลงทุนที่ลงทุนระยะยาวและนักลงทุนที่ทำกำไรในระยะสั้นในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมาก
  • นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามสิทธิการออกเสียง (voting right) ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น  พบว่า           นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยถือครองหุ้นตรงกับสิทธิการออกเสียงฯกล่าวคือมูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่เป็น local shares 73% รองลงมาคือ foreign shares 21% และ NVDR 6% สอดคล้องกับนักลงทุนต่างประเทศที่ถือครองหุ้น 27% เท่ากับการถือครองหุ้น  foreign shares และ NVDR รวมกัน

ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 การเปิดบัญชีใหม่เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นกว่า 550,000 บัญชีส่งผลให้ณสิ้นเดือนกันยายน 2563 มีบัญชีซื้อขายกว่า 3.32 ล้านบัญชีจากนักลงทุนรวม 1.45 ล้านราย

ปี 2563 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากผู้ต้องการลงทุน ดังเห็นได้จากจำนวนบัญชีที่เปิดบัญชีจำนวนมาก โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 (ภาพที่ 1) พบว่า มีบัญชีที่เปิดสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดรวม 3.32 ล้านบัญชีเพิ่มขึ้นกว่า 554,000 บัญชีหรือเพิ่มขึ้น 20% จากสิ้นปีก่อนซึ่งเป็นการเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากปกติที่จะมีจำนวนบัญชีเปิดใหม่เพิ่มขึ้นปีละ  230,000 ถึง 330,000 บัญชี

นอกจากนี้ยังพบว่าบัญชีเพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดเป็นบัญชีซื้อขายฯผ่านอินเทอร์เน็ต โดยจำนวนบัญชีชี้อขายฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นกว่า 553,000 บัญชี หรือเพิ่มขึ้น 22% ไปอยู่ที่ 3.02 ล้านบัญชี และมีข้อสังเกตว่า ในเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ SET Index ปรับตัวลดลง มีการเปิดบัญชีการซื้อขายฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่าเดือนละ 77,000 บัญชี

ขณะที่จำนวนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีจำนวน 1.45 ล้านราย เพิ่มขึ้นกว่า 170,000 ราย หรือ 13.68% จากเดือนมกราคม 2563 (ภาพที่ 2)

สัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศของตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกันกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นและตลาดหุ้นไต้หวัน

จากการประมาณการมูลค่าการถือครองหุ้นจากข้อมูลการปิดสมุดทะเบียน และข้อมูล Corporate Action ของบริษัทจดทะเบียน 695 บริษัท จากทั้งหมด 712 บริษัท ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (ตลาดหุ้นไทย) พบว่า

ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนในประเทศและการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ระดับ 73% ต่อ 27% (ภาพที่ 3) ใกล้เคียงกันกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นและตลาดหุ้นไต้หวัน 

นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มของนักลงทุนในประเทศนั้นนักลงทุนบุคคลมีสัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นรวมสูงสุดทั้งในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นไต้หวันที่ระดับ 28% และ 36% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาดตามมาด้วยบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศ ที่ระดับ 18.0% และ 22.7% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดตามลำดับ (ตารางที่ 1)

นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มของนักลงทุนในประเทศนั้นนักลงทุนบุคคลมีสัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นรวมสูงสุดทั้งในตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นไต้หวันที่ระดับ 28% และ 36% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาดตามมาด้วยบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศ ที่ระดับ 18.0% และ 22.7% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดตามลำดับ (ตารางที่ 1)

ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจทั้งการลงทุนในระยะสั้นและระยะยาวและมีสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ในระดับสูงสังเกตได้จากสัดส่วนนักลงทุนระยะยาวมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ (strategic shareholders) ไม่แตกต่างกันมากนักกับสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย (% free float)

หากพิจารณาแบ่งนักลงทุนตามการมีส่วนในการบริหารกิจการ สามารถแบ่งนักลงทุนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักลงทุนกลยุทธ์ (strategic shareholders) หมายถึง นักลงทุนที่มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ ให้ความสำคัญกับการถือครองหุ้นระยะยาว และ 2)  นักลงทุนรายย่อย (free float)  คือ นักลงทุนอื่นที่นอกเหนือจากนักลงทุนกลยุทธ์ 

“นักลงทุนกลยุทธ์” ตามคำนิยาม จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

ผู้บริหาร 4 อันดับแรกขององค์กร รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์ อาทิ คู่สมรส บุตร ธิดา เป็นต้น ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนชำระแล้ว โดยนับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 

ยกเว้น บางหน่วยงานตามคำนิยาม3 ผู้มีอำนาจควบคุม หรือ ผู้ที่มีพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย หรือการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอำนาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม

ภาพที่ 4 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนจำแนกตามการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ

จากสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย (%free float) ของบริษัทจดทะเบียน (ภาพที่ 4) พบว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 นักลงทุนรายย่อยมีมูลค่าการถือครองหุ้นอยู่ที่ 45.26% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ขณะที่นักลงทุนกลยุทธ์มูลค่าการถือครองหุ้นอยู่ที่ 54.74% 

แสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจในระยะยาวโดยมีนักลงทุนกลยุทธ์ถือครองหุ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดและเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสังเกตได้จากนักลงทุนรายย่อยที่มีมูลค่าการถือครองกว่า 40%  และมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันที่สูงกว่าตลาดหลักทรัพย์อื่นๆในอาเซียน (ภาพที่ 5)

ภาพที่ 5 มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำในอาเซียน

นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยถือครองหุ้นตรงกับสิทธิการออกเสียงฯในการที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการถือครองหุ้นแต่ละกลุ่มพบว่ามีความสอดคล้องกับประเภทนักลงทุนโดย 73% เป็น local shares (เท่ากับสัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนในประเทศ) ตามมาด้วย 21% เป็น foreign shares และ 6% เป็น NVDR ซึ่งสอดคล้องกับนักลงทุนต่างประเทศที่ถือครองหุ้น 27% เท่ากับการถือครองหุ้น  foreign shares และ NVDR รวมกัน

จากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ตนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในธุรกิจบางประเภท หรือเพื่อป้องกันไม่ให้นักลงทุนต่างประเทศมีบทบาทในกิจการมากกว่าคนไทย  โดยการจำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นสูงสุดในแต่ละกิจการของนักลงทุนต่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า “เพดานการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ” (Foreign Ownership Limit: FOL) ซึ่ง FOL ของแต่บริษัทอาจมีความแตกต่างกัน ทั้งจากอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติของแต่ละธุรกิจ การกำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล หรือ หนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท เป็นต้น

จากเพดานการถือครองหุ้นฯ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้สามารถแบ่งหุ้นในตลาดหุ้นไทยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) local shares หุ้นสำหรับนักลงทุนไทยและ 2) foreign shares หุ้นสำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่มีจำนวนจำกัดตามเพดานการถือครองฯของแต่ละบริษัททั้งนี้ นักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศสามารถซื้อขายหุ้นได้ทั้ง 2 กลุ่ม แต่ความแตกต่างจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ กล่าวคือ หากปิดสมุดฯ แล้ว นักลงทุนไทยถือ foreign shares จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ เช่นเดียวกันกับกรณีที่นักลงทุนต่างประเทศถือ local shares 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศมีความสนใจค่อนข้างสูงในตลาดหุ้นไทย และถือครองหุ้นเต็มเพดานฯ ทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่สามารถเข้ามาถือครองหุ้นเพื่อรับสิทธิประโยชน์ด้านการเงินได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนระยะยาวของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยจึงจัดให้มีหุ้นกลุ่ม NVDR (Non-Voting Depository Receipts) เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการลงทุนในตลาดหุ้นไทยโดยนักลงทุนต่างประเทศยังสามารถลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินแต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียง 

ภาพที่ 5 สัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นจำแนกกลุ่มหลักทรัพย์ตามสิทธิการออกเสียง

ดังนั้นในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยจึงสามารถแบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ตามสิทธิการออกเสียงได้ 3 กลุ่มได้แก่  local shares, foreign shares และ NVDR จากข้อมูลการถือครองหุ้นปี 2563 (ภาพท่ี 5 – 6) พบว่า 73% เป็น local shares ตามมาด้วย foreign shares 21% และ NVDR ประมาณ6%

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : KKP Research เผยตลาดหุ้นไทยยังติดหล่ม Old Economy ยังขาดบริษัทเทคโนโลยี

Related Posts