ตราสารอนุพันธ์

ทำความรู้จัก “ ตราสารอนุพันธ์” เบื้องต้นแบบเข้าใจง่าย

โดย SM1984

ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือเครื่องมือการลงทุนประเภทหนึ่งที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความนิยมในการซื้อขายด้วยจุดเด่นที่มีในตัวเองต่างจากตราสารหุ้นหรือสินทรัพย์ประเภทอื่น เราลองมาทำความรู้จักเครื่องมือดังกล่าวในเบื้องต้นกันดูรวมถึงวิธีการซื้อขายไม่ให้ขาดทุนจนหมดตัว

ไม่มีการส่งมอบสินค้าจริง

ตราสารอนุพันธ์ คือการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบสินค้ากันโดยตรงทันที กล่าวคือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงและเก็งกำไรเท่านั้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ แต่จะเป็นการซื้อขายสัญญาส่งมอบที่กำหนดระยะเวลาส่งมอบหรือวันหมดอายุที่ชัดเจนเช่น รายไตรมาส รายเดือน

สามารถซื้อขายได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

ความพิเศษของตราสารอนุพันธ์ก็คือการที่สามารถซื้อขายและทำกำไรทั้งทั้งตลาดขาขึ้นรวมถึงตลาดขาลงจึงสามารถทำกำไรได้แม้ตลาดในภาพรวมจะเป็นขาลงด้วยการขายล่วงหน้า (Short) โดยสามารถซื้อขายได้ทั้งการเก็งกำไรรวมถึงการบริหารความเสี่ยง (Hedging) เช่น ซื้อหุ้นเอาไว้แต่ยังไม่ต้องการจะขายออกไปก็อาจจะเปิดสถานะ Short เพื่อป้องกันไม่ให้พอร์ตขาดทุน 

สามารถ Leverage ได้

อีกหนึ่งความพิเศษของตราสารอนุพันธ์คือสามารถใช้เงินเพียงเล็กน้อยแต่ทำกำไรได้ในอัตราที่สูงหรือที่เรียกว่า Leverage เช่นใช้เงิน 10 บาทแต่สามารถซื้อขายได้เท่ากับมีวงเงิน 100 บาท เรียกว่า Leverage 1:10 แต่นอกจากการทำกำไรได้ในระดับสูงแล้วหากขาดทุนก็จะเสียหายอย่างหนักเช่นกันและอาจถึงขั้นเป็นหนี้ได้เลยทีเดียว

ทำความรู้จัก Futures และ options

ตราสารอนุพันธ์ ส่วนใหญ่จะมีอยู่ดวยกันสองแบบคือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ Futures รวมถึงตราสารสิทธิที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อหรือผู้ถือหรือ Options โดยมีความแตกต่างกันดังนี้

Futures

เป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีช่วงเวลาและวันหมดอายุที่กำหนดไว้ชัดเจน สินทรัพย์ที่สามารถนำมาแปลงเป็นสัญญาล่วงหน้ามีตั้งแต่ หุ้น ดัชนีตลาดหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ รวมไปถึงค่าเงิน สำหรับประเทศไทยที่รู้จักกันก็คือตลาดซื้อขายล่วงหน้าแห่งประเทศไทยหรือ TFEX ซึ่งเปิดให้ซื้อขายทั้ง SET50 Index Futures และ Gold Futures ตลอดจน Single Stock Futures และสินค้าโภคภัณฑ์

Options

เป็นสัญญาที่ให้สิทธิกับผู้ถือในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในอนาคตจากผู้ขาย(Options Writer) ด้วยราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า หรือ ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price หรือ Strike Price) ภายในวันที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือวันหมดอายุ (Expiration Date หรือ Exercise Date)  โดยผู้ซื้อหรือผู้ถือจะต้องจ่ายเงิน (Premium) ให้แก่ผู้ขายเพื่อแลกกับสิทธิดังกล่าว โดยสามารถเลือกได้ทั้งขาขึ้น (Call Options) และขาลง (Put Options)

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคการอ่านกราฟแท่งเทียน (Candle Stick)

เทรดอนุพันธ์อย่างไรไม่ให้หมดตัว

การซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน มีเรื่องของ margin เข้ามาเกี่ยวข้อง การบริหารความเสี่ยงจึงต้องเพิ่มดีกรีความเข้มข้นอีกพอสมควรเมื่อเทียบกับหุ้น ถ้าซื้อหุ้นแล้วผิดทาง เรายังถือต่อเพื่อรอให้ราคากลับมาได้ แต่สำหรับตราสารอนุพันธ์ ถ้าเปิดสถานะแล้วราคาไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ความผันผวนเพียงเล็กน้อยก็ทำให้นักลงทุนหมดตัวได้ไม่ยาก

อย่าโอเวอร์เทรด

สาเหตุที่นักเทรดส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลวในการเทรดตราสารอนุพันธ์ก็เพราะซื้อขายด้วยจำนวนเงินที่มากเกินไป เวลาที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พอร์ตลงทุนจะเสียหายอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน และเมื่อขาดทุนจนถึงระดับที่กำหนด เวบเทรดจะทำการบังคับขายทันที ทำให้ขาดทุนจนหมดพอร์ตได้ชนิดที่ไม่รู้ตัวหรือบางครั้งที่บังคับขายไม่ทันอาจทำให้นักเทรดถึงกับติดหนี้ได้เลทีเดียว

อย่าสวนตลาด

การที่พอร์ตลงทุนติดลบอย่างหนักจนไม่สามารถกู้คืนมาได้ส่วนหนึ่งก็เพราะเทรดฝืนทิศทางของตลาด เช่น เปิด Long ในขณะที่ตลาดเป็นขาลง การจะเทรดตราสารอนุพันธ์ให้ได้กำไรจึงต้องเลือกที่จะเปิดสถานะให้ตรงกับแนวโน้มหลักว่ากำลังอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง

การที่พอร์ตลงทุนติดลบอย่างหนักจนไม่สามารถกู้คืนมาได้ส่วนหนึ่งก็เพราะเทรดฝืนทิศทางของตลาด เช่น เปิด Long ในขณะที่ตลาดเป็นขาลง การจะเทรดตราสารอนุพันธ์ให้ได้กำไรจึงต้องเลือกที่จะเปิดสถานะให้ตรงกับแนวโน้มหลักว่ากำลังอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ

คัทลอสทันทีเมื่อผิดทาง

ต่อจากข้อที่แล้วหากเลือกเปิดสถานะผิดทิศทาง นักเทรดจะต้องตัดขาดทุนทันทีอย่าปล่อยให้ขาดทุนไปเรื่อยๆ เพราะอนุพันธ์ต่างจากหุ้นตรงที่มีวันหมดอายุและเราไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ

หากลงทุนผิดทางแล้วไม่รีบตัดขาดทุนเลยอาจส่งผลเสียทำให้ขาดทุนจนหมดก็เป็นได้ ทางที่ดีควรจะตัดขาดทุนและกลับมาตั้งหลักใหม่เลือกลงทุนให้ถูกทิศทางยังมีโอกาสที่จะทำกำไรคืนได้

อย่าเทรดในตลาดที่ไม่มีทิศทาง

ตราสารอนุพันธ์ เหมาะกับตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจนว่าขึ้นหรือลง หากซื้อขายในตลาดไซด์เวย์หรือไม่มีทิศทาง เมื่อหมดอายุในการซื้อขายผู้ลงทุนแทบจะไม่มีผลตอบแทนใดๆนอกจากเสียค่าธรรมเนียมการเทรดไปโดยใช่เหตุ ดังนั้นขอให้ตลาดมีทิศทางที่ชัดเจนก่อนตัดสินใจลงทุน

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : ทำความรู้จัก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA EMA) ในการวิเคราะห์แนวโน้มราคา

ใช้เงินให้น้อย

Derivative เป็นตราสารที่มี Leverage ในตัวอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการเทรดก็สร้างผลตอบแทนได้อย่างดีแล้ว ควรจะลงทุนไม่เกิน 10% ของพอร์ตรวมก็น่าจะเพียงพอ หากลงทุนในสัดส่วนสูงกว่านี้พอร์ตโดยรวมจะเหวี่ยงตัวแรงเกินไป และอย่านำเงินทั้งพอร์ตมาเทรดอนุพันธ์เพราะจะมีความเสี่ยงมากเกินไป

ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้อย่างดี ขณะเดียวกันยังสร้างอันตรายได้อย่างมหาศาล หากยังเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือยังไม่ชำนาญควรที่จะหลีกเลี่ยงไปก่อน

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : 3 บทเรียน Cut Loss จากนักลงทุนระดับโลก

Related Posts