Singapore The Fintech Nation

ทำไม “สิงคโปร์” ถึงวางโพสิชั่นที่จะเป็นประเทศแห่ง “ฟินเทค”

โดย SM1984

Singapore The Fintech Nation เป็นหนังสือที่เปิดตัวขึ้นในช่วงที่ประเทศสิงคโปร์ได้จัดงาน Singapore Fintech Festival ซึ่งจัดขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยปีนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น Online อย่างเต็มตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด

หนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาที่ระบุถึงสิ่งที่ประเทศเล็กๆแห่งนี้ได้ทำมาตลอดระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2015-2020 ในการที่จะมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีทางด้านการเงินของโลก ไม่ใช่เพียงแค่ระดับภูมิภาค

โดยเป็นการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการฟินเทคกว่า 70 คน เกี่ยวกับการสร้าง Ecosystem ของฟินเทคให้ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การหาลูกค้า การสร้างพนักงานตลอดจนการกำกับดูแลทางด้านนโยบาย

ถ้าสนใจรายละเอียดในหนังสือ Singapore The Fintech Nation เข้าไปอ่านได้ในลิงค์นี้

ก่อนที่จะรู้ว่าทำไม “สิงคโปร์” ถึงวางโพสิชั่นที่จะเป็นประเทศแห่ง “ฟินเทค” ลองมาทำความเข้าใจปรัชญาการสร้างชาติของเขาดูก่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง : หุ้นเทคโนโลยีจีน พระเอกแห่งวงการเทคโนโลยีโลก

เคารพในการกำกับดูแลคือหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการเงินสิงคโปร์

ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับหลักปรัชญาในการสร้างชาติทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์กันก่อน เกาะเล็กๆตอนใต้ของประเทศไทยแห่งนี้ให้ความสำคัญกับการเคารพและยึดมั่นในตัวบทกฎหมายและบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 

หลักการสองข้อนี้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางการเงินที่จำเป็นต้องมีระเบียบข้อบังคับชัดเจน สิงคโปร์จึงให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายในการกำกับดูแลภาคการเงินไม่ว่าจะเป็นการกำจัดการฟอกเงินและอาชญากรรมทางการเงิน

ประกอบกับการเป็นศูนย์กลางทางการเงินให้กับประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิคกับส่วนอื่นๆของโลก ทำให้อุตสาหกรรมทางการเงินของสิงคโปร์ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆของโลกได้ในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้ปรัชญาการสร้างเศรษฐกิจสไตล์สิงคโปร์หรือ Singanomics

สิงคโปร์มีความเชื่อว่าโครงสร้างทางการเงินการธนาคารที่ดีจะเป็นรากฐานสำคัญของความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นั่นจึงเป็นที่มาว่าแม้สิงคโปร์จะเดินหน้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค แต่จะยังคงยึดมั่นในการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเงินดั้งเดิม

“คุณต้องมีความคิดและวัฒนธรรมดังกล่าวในอุตสาหกรรมการเงิน แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีความเสี่ยงสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เราจึงจำเป็นต้องทำนวัตกรรมนี้อย่างรอบคอบ” คำกล่าวจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของสิงคโปร์หรือ MAS บ่งบอกถึงหลักปรัชญาในการเคารพกฎระเบียบของชาวสิงคโปร์อย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ถอดรหัส SE Digital และ ERX สู่มาตรฐานใหม่แห่งการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลในเมืองไทย

หลักปรัชญา Kaisu ของชาวสิงคโปร์หรือกูต้องรอด

อีกหนึ่งปรัชญาที่ชาวสิงคโปร์นำมาใช้ในการสร้างชาติคือหลักการที่เรียกว่า Kaisu ซึ่งมีความหมายว่า I Will Survive หรือ “กูต้องรอด” หากเราย้อนประวัติศาสตร์ไปในช่วงที่สิงคโปร์กำลังสร้างชาติหลังจากที่ถอนตัวออกมาจากส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) ซึ่งคนในชาติที่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยชาวจีนต้องดิ้นรนเอาตัวรอดจากการที่อยู่ในเกาะเล็กๆที่แทบจะไม่มีทรัพยากรใดๆ นอกจากนี้ชาวสิงคโปร์ยังมีความหลงไหลในการสร้างความสำเร็จให้กับตัวเอง

มาถึงยุค 2020 ชาวสิงคโปร์หันมามุ่งมั่นในการพาตัวเองไปสู่ผู้นำในอุตสาหกรรมฟินเทคเป็นภารกิจที่คนสิงคโปร์ยุคต่อไปจะต้องสานต่อให้สำเร็จ

“Dream big. start small. move fast”

ฝันให้ใหญ่ เริ่มต้นอย่างพอเพียงและเดินหน้าให้เร็ว นี่คือสโลแกนในการพัฒนา Fintech Ecosystem ของสิงคโปร์ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาโดยมีการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล ผู้ประกอบการฟินเทคตลอดจนนักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการเงิน 

เรียกได้ว่า MAS ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลลงมาเป็นผู้ส่งเสริมฟินเทคด้วยตัวเอง โดยเป็นเจ้าภาพจัดงาน Singapore Fintech Festival ในทุกๆปีซึ่งถือเป็นหนึ่งในงานอีเว้นท์ของฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ผู้เขียนไปงานแทบทุกปี ยิ่งใหญ่อลังการมาก)

บทความที่เกี่ยวข้อง : รีวิว eToro แพลตฟอร์มเทรดสินค้าต่างประเทศที่เหมาะสมกับมือใหม่

จาก Garden City สู่ Garden Innovation

นอกจากหลักการสำคัญของการยึดมั่นในตัวบทกฎหมายและข้อบังคับแล้ว อีกหนึ่งหลักการสร้างเศรษฐกิจของสิงคโปร์ก็คือการเปิดเสรีทางการแข่งขันของภาคเอกชนควบคู่ไปกับการผลักดันโดยภาครัฐ 

สิ่งที่เห็นได้เป็นรูปธรรมคือการเปิดให้ฟินเทคจากทั่วโลกขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ (แม้แต่ Ant Group จากฮ่องกงยังได้ไลเซ่นส์) จุดนี้แสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์ยึดมั่นในหลักการของการเปิดเสรี ไม่ใช่คุ้มครองผลประโยชน์ให้ธุรกิจดั้งเดิมของตัวเอง

ขณะเดียวภาครัฐยังลงมาให้การสนับสนุนฟินเทคจากระดับฐานราก โดยแปลงนโยบาย “Garden City” หรือเมืองในสวน (ใครที่ไปสิงคโปร์น่าจะเห็นแล้วว่าต้นไม้มีอยู่ทั่วเมืองจริงๆ) ของอดีตนายกรัฐมนตรีลี กวนยู ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 1967 มาเป็น “Garden Innovation” เพื่อสนับสนุนนวัตรกรรมทางการเงินไม่ต่างอะไรกับการปลูกและดูแลต้นไม้ให้งอกเงย

นวัตรกรรมทางการเงินที่รัฐบาลให้การสนับสนุนประกอบไปด้วยระบบชำระเงิน,บล็อกเชน,ปัญญาประดิษฐ์,การวางแผนเกษียนและ Green Finance เทคโนโลยีเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ

นวัตรกรรมทางการเงินที่รัฐบาลให้การสนับสนุนประกอบไปด้วยระบบชำระเงิน,บล็อกเชน,ปัญญาประดิษฐ์,การวางแผนเกษียนและ Green Finance เทคโนโลยีเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ

Singapore The Fintech Nation

ทิศทางของสิงคโปร์หลัง Covid 

ในฐานะประเทศที่พึ่งพาเม็ดเงินและการลงทุนจากต่างชาติ สิงคโปร์จึงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง ออกมายอมรับว่าสิงคโปร์จะดำเนินแนวทางแบบเดิมที่เคยทำไม่ได้อีกแล้ว

การวางโพสิชั่นให้เป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีการเงินจึงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ใหม่ของสิงคโปร์ โดยมีแนวความคิดว่าธุรกิจการเงินแบบดั้งเดิมกับฟินเทคไม่ใช่การแข่งขันที่จะต้องมีผู้แพ้ผู้ชนะแต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องเดินไปด้วยกัน

ขณะเดียวกันสิงคโปร์ยังยอรับว่าตัวเองเป็นประเทศเล็กเป็นอุปสรรคในการขยายตลาด ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางของการระดมทุนเพื่อที่จะขยายตลาดไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน เรียกได้ว่าอาสาที่จะเป็นพี่ใหญ่ของฟินเทคในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม แม้เป้าหมาย Singapore The Fintech Nation จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของสิงคโปร์ในช่วงหลังจากนี้ที่ได้รื้อระบบความคิดทางเศรษฐกิจใหม่ในยุคหลังไวรัสโควิด แต่ยังคงยึดมั่นในนโยบายเศรษฐกิจและการเคารพในกฎหมายดั้งเดิม (Singanomics)

แนวคิดที่เรียกว่า RFFL (Right First,Fast Later) หรือ “ทำให้ถูกต้องก่อนที่จะเดินไปข้างหน้า” จะยังคงอยู่เช่นเดิม 

แต่ใช่ว่าสิงคโปร์จะยึดมั่นในกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเถรตรงเป็นไม้บรรทัดซะทีเดียว บางครั้งสิงคโปร์ก็เลือกที่จะ “นิ่งเฉย” ไม่ลงมากำกับดูแลและจับตามองอย่างห่างๆ เพื่อไม่ให้กฎหมายไปปิดกั้น “นวัตรกรรม” ซึ่งจะขอวิเคราะห์ต่อไปในบทความถัดไปนะครับ จะลงลึกไปถึงแนวคิดในการส่งเสริมและควบคุมดูแลฟินเทคของสิงคโปร์ที่สามารถทำไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืนซึ่งน่าจะยกเป็นกรณีศึกษาได้เลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง : รีวิว Interactive Brokers โบรกเทรดหุ้นต่างประเทศที่ดีที่สุด

Related Posts