หุ้นจีน A-Shares

เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง แนะลงทุนหุ้นจีน A-Shares รับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่

โดย SM1984

เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง มองจีนยังอยู่แถวหน้า ชี้โอกาสครั้งสำคัญกับการลงทุนใน หุ้นจีน A-Shares ผ่านกองทุน K-CCTV รับทิศทางของจีนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่ แนวโน้มการฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่น ปัญหาโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย อุตสาหกรรมยุคใหม่เติบโตดี

นางสาวศิริพร สุวรรณการ Managing Director – Financial Advisory Head Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง และบลจ. กสิกรไทย มองเห็นศักยภาพของตลาด หุ้นจีน A-Shares ที่จะเป็นแหล่งสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับนักลงทุนได้ รวมทั้งการเปิดเสรีตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง และการที่ Morgan Stanley Capital International (MSCI) บริษัทจัดทำดัชนีราคาหุ้นชั้นนำของโลก ได้รวมหุ้นจีน A-Shares ในการคำนวณดัชนีตลาดเกิดใหม่ (MSCI Emerging Markets Index) นั่นหมายถึง การเปิดประตูให้นักลงทุนนอกประเทศจีน ทำให้มีทั้งสภาพคล่องและความเชื่อมั่นมากขึ้น  

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงยังคงมีมากเมื่อจีนกำลังท้าทายมหาอำนาจเดิมอย่างสหรัฐฯ ทั้งในเรื่องของธุรกิจการค้า ตลาดการเงิน รวมทั้งเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่เพียงความล้ำสมัย แต่หมายถึงการเข้าถึงข้อมูลและความมั่นคงของชาติ จึงเป็นที่มาของการออกแบบกลยุทธ์การจัดการกองทุน K-CCTV ที่มีความโดดเด่น 2 ข้อ ได้แก่  

1) เป็นกองทุนหุ้นจีน A-Shares เดียวในไทยที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง หากตลาดหุ้นจีนมีความผันผวนสูงขึ้น กองทุนสามารถเปลี่ยนมาถือเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้นเพิ่ม จึงช่วยลดความเสี่ยงขาลงได้ระดับหนึ่ง  

2) สร้างผลตอบแทนจากการจัดการเชิงรุก (Active Management) ผ่านการคัดเลือกกองทุนหลักจากสองผู้จัดการกองทุนระดับโลก ที่คร่ำหวอดในตลาดหุ้นจีนและสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้ง UBS Asset Management และ Schroders ซึ่งกองทุนหลักทั้งสองมีกลยุทธ์ต่างกัน จะช่วยเพิ่มความหลากหลายในแหล่งที่มาของผลตอบแทน และกระจายความเสี่ยง” 

ทั้งนี้ ตั้งแต่จัดตั้ง กองทุน K-CCTV ให้ผลตอบแทนที่ประมาณ 62% และแม้วิกฤตโรคโควิด-19 จะเริ่มต้นจากจีน แต่จีนสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถส่งผ่านผลตอบแทนมาที่กองทุนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ประมาณ 22% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2563) 

ด้าน ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษาและอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากแผนกลยุทธ์ของจีนฉบับที่ 14 (ปี 2564 – 2568) มี 3 คำสำคัญ ได้แก่ 1) Dual circulation – คือใช้เศรษฐกิจภายในเป็นแกนกลางเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอก ใช้พลังการบริโภคอันมหาศาลในประเทศ สร้างเป็นวิสัยทัศน์ Globalization 2.0 หรือโลกาภิวัฒน์ยุคใหม่ เปลี่ยนจากโลกออฟไลน์สู่การค้าดิจิทัล จากการเติบโตของบริษัทขนาดใหญ่เป็นขนาดกลางและเล็ก จากบทบาทของประเทศพัฒนาแล้วสู่ประเทศกำลังพัฒนา และเปลี่ยนผู้กำหนดกฎ กติกาจากสหรัฐฯ เป็นจีน เพราะกติกากำหนดโดยผู้บริโภค

 2) China 5.0 – ต่อยอดเทคโนโลยีดิจิตอลสู่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 5G และ Internet of Things จากข้อได้เปรียบที่ตลาดจีนเป็นผู้บริโภคออนไลน์ขนาดใหญ่ จึงมีข้อมูลมหาศาล และ 3) Clean energy – จีนตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องทำให้ได้ภายในปี 2603 คือจีนจะเป็นประเทศปลอดคาร์บอน (Carbon Neutrality) อย่างไรก็ตาม จีนยังมีความเสี่ยงหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง วิกฤตการเงิน และเทคโนโลยีที่หลายฝ่ายตั้งคำถามว่ารัฐบาลจะมีพลังในการสร้างสรรค์แค่ไหน 

ด้านผู้จัดการกองทุน นายเจีย ซ่ง จาก UBS Asset Management กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะอยู่อีกนาน นักลงทุนไม่ควรตื่นตระหนกแต่ก็ไม่ควรประมาท ความสำเร็จของการลงทุนที่ผ่านมาเกิดจากการใช้โอกาสในช่วงตลาดผันผวนเข้าสะสมหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากกลยุทธ์ของจีนที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากการเน้นภาคลงทุนสู่การบริโภคและบริการ ตัวอย่างปัจจัยขับเคลื่อนระยะยาวที่เป็นตัวบ่งชี้ธุรกิจผู้ชนะ (Long term winner) ได้แก่ 1) การยกระดับการบริโภคด้วยสินค้าคุณภาพและราคาสูงขึ้น 2) การขยายตัวของเมืองและความเจริญ 3) นวัตกรรมและการสร้างกระบวนการทำงานอัตโนมัติ และ 4) การรองรับตลาดผู้สูงอายุ เป็นต้น 

ขณะที่ นางสาวดิออน เฉิง จาก Schroders กล่าวว่า ปีนี้ ตลาดหุ้นจีนให้ผลตอบแทนดีเพราะความสำเร็จของการควบคุมโรคโควิด-19 และเศรษฐกิจฟื้นกลับมาเร็ว ตัวเลข GDP ในอนาคตอาจดูไม่สูงเพราะแรงฉุดจากธุรกิจยุคเก่าเช่น สถาบันการเงิน และโภคภัณฑ์ แต่ธุรกิจยุคใหม่ในอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหรือวิถีชีวิตยุคใหม่ เช่น เทคโนโลยี และการดูแลรักษาสุขภาพ จะยังเติบโตได้ดี สำหรับผลงานของกองทุนที่โดดเด่นในปีนี้มาจากการลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่ตอบสนองต่อการยกมาตรฐานอุตสาหกรรม การผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้าจากกรณีความขัดแย้งกับสหรัฐฯ รวมทั้งสินค้าและบริการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม” 

“ภายใต้ลักษณะเฉพาะและโอกาสการเติบโตของตลาดหุ้นจีน ประกอบกับความสามารถของทีมผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้นที่น่าสนใจ กระจายความเสี่ยง และจัดการความผันผวน จะช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมในระยะยาวด้วยการลงทุนในกองทุน K-CCTV” นางสาวศิริพร กล่าวปิดท้าย 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตลาดหุ้นจีน โอกาสการลงทุนหรือฟองสบู่ที่กลับมาอีกครั้ง?

Related Posts