DW

คู่มือการเริ่มต้นเทรด DW สำหรับมือใหม่

โดย SM1984

DW หรือDerivative Warrant เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วย Leverage ผลกำไรให้กับพอร์ตได้เป็นอย่างมากแต่ในอีกแง่หนึ่งหากผู้ลงทุนขาดความรู้ความเข้าใจในการเทรด DW ก็จะสร้างผลเสียให้กับพอร์ตได้เป็นอย่างมากเช่นกัน

ก่อนที่จะเริ่มเทรด DW ลองสอบถามตัวเองว่าพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการเทรด Derivative Warrant โดยมี Checklist ดังนี้

1. เทรดหุ้นในกลุ่ม SET100 เป็นประจำจนกระทั่งเข้าใจพฤติกรรมราคาของหุ้นกลุ่มนี้เพราะDWส่วนใหญ่อ้างอิงราคาหุ้น SET100 หากเราเทรดและศึกษาพฤติกรรมราคาของหุ้นกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง โอกาสในการทำกำไรจากDWก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป

2. มีความเร็วในการตัดสินใจและมีวินัยในการตัดขาดทุน (Stop Loss)
ข้อนี้สำคัญมากเพราะDWส่วนใหญ่มีราคาหลักสตางค์ ทำให้การเปลี่ยนแปลงราคามีเปอร์เซ็นต์ที่สูง ทั้งในทางขึ้นและลง 

ดังนั้นหากเป็นคนหนึ่งที่รับไม่ได้กับการแกว่งตัวของราคาในเปอร์เซ็นต์สูง ขึ้นไปกำไรเยอะมักไม่ยอมขาย ลงมาขาดทุนมักไม่ยอมคัทตามแผน แสดงคุณก็ยังไม่พร้อมสำหรับการเทรดDWหรืออาจต้องเริ่มฝึกด้วยการเทรดในวอลลุ่มที่น้อยๆ ก่อน

3. มีความรู้ความเข้าใจชื่อย่อของDWและค่าต่างๆ ในตาราง
การซื้อขายDWจำเป็นต้องทราบความหมายของชื่อย่อDWดูตารางเปรียบเทียบของแต่ละค่าย และเข้าใจค่าต่างๆ ในตาราง ตลอดจนซื้อขายโดยอ้างอิงจากราคาในตารางเท่านั้น หากยังไม่ลงมือศึกษา ขอแนะนำให้เริ่มศึกษาจนเข้าใจก่อนเริ่มเทรดค่ะ

4. ทำ Portfolio Management ด้วยการจำกัดวงเงินในพอร์ตที่จะนำมาเทรด DWเพื่อกำหนดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่คุณรับได้กับการเทรด DW ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น

ถ้าคุณประเมินตนเองแล้วยังไม่ผ่านข้อไหนก็ลองนำไปปรับแก้ไขเพื่อเตรียมความพร้อมการเทรดDWก่อน

เลือกเทรดเฉพาะหุ้นที่มีเทรนด์ชัดเจน

ก่อนการเทรด DW อยากให้มองเสมือนเป็นหุ้นทั่วไป ไม่มีความโลภหรือความกลัวเป็นพิเศษกับ Product นี้ เพียงแต่มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องทราบก่อนการเทรด เช่น ความหมายของชื่อDWและรายละเอียดในตาราง

ข้อแรกที่ต้องทำคือการเปิดกราฟหุ้นแม่ และ Zoom out ออกมาแยกเทรนด์ภาพรวมให้ได้ก่อนDWเหมาะกับการเทรดเมื่อหุ้นมีเทรนด์ชัด ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยเฉพาะขาขึ้น/ขาลงแบบ Stong trend ตาม Dow’s Theory คือ กราฟขาขึ้นเป็นทรง Higher High, Higher Low และ Low ใหม่สูงกว่า High ก่อนหน้า หรือกราฟขาลงที่ทำ Lower High, Lower Low และ High ใหม่ต่ำกว่า Low ก่อนหน้า

หุ้นที่มีแนวโน้มขาขึ้นชัดเจนแบบนี้เหมาะสมกับการเทรด DW

เพราะเทรนด์ที่แข็งแรงจะทำให้กรอบการกำไรกว้าง Reward-risk ratio คุ้มค่า และถ้าได้จุดเข้าที่ได้เปรียบก็สามารถเลือกที่จะทำกำไรระยะสั้นหรือถือต่อได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง Time Decay มากนัก ในขณะเดียวกันก็จะไม่เหมาะกับหุ้น Sideway โดยเฉพาะ Sideway ในกรอบแคบๆ ทำให้ตัดสินใจซื้อขายยากขึ้นและต้องมีเวลาติดตามราคาอย่างใกล้ชิด

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับการเลือก Trade Setup ที่เหมาะสมของนักลงทุนรายย่อย

เลือกหุ้นตาม Free Float

อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการขึ้นแรง ขึ้นเร็วของ DW คือ ความหนักเบาของหุ้นแม่ ความหนักเบาของหุ้นที่มีมาจากอะไร? ความหนักเบาตรงนี้ก็มาจากจำนวนหุ้นที่อยู่ในมือรายย่อยนั่นเอง

หากหุ้นอยู่ในมือรายย่อยเยอะ ต่างคนต่างคิด การจะควบคุมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันย่อมจะทำได้ยาก ราคาจะขึ้นแรงๆ ก็จะยากหน่อย หุ้น SET100 กลุ่มหนักสังเกตุได้จาก Bid-Offer มักมีหุ้นวางไว้หลักสิบล้านหุ้น เช่น SIRI, TMB เป็นต้น

ในทางกลับกัน ถ้าหุ้นอยู่ในมือผู้ถือหุ้นรายใหญ่เยอะ การควบคุมราคาให้ขึ้นลงจะทำได้ง่ายกว่า รายใหญ่ไม่ต้องกลัวถูกรายย่อยขายใส่เวลาทำราคาขึ้นไป หุ้นกลุ่มนี้ Bid-Offer จะค่อนข้างน้อย ปกติหลักหมื่นหลักแสนหุ้นเท่านั้น เช่น CBG, WORK เป็นต้น

ดังนั้น หากเราสนใจเทรดDWต้องเลือกDWให้เหมาะสมกับความหนักเบาด้วย

– หุ้นหนัก : ใช้เวลาในการสะสมวอลลุ่มก่อนขึ้นนาน เลือกDWที่ Time Decay ต่ำหน่อย

– หุ้นเบา : ขึ้นลงไว เน้น Stop loss ตามแผนไวๆ เลือกDWที่ Time Decay สูงขึ้นมานิดหนึ่งได้

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : ทำความรู้จัก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA EMA) ในการวิเคราะห์แนวโน้มราคา

ศึกษาพฤติกรรมหุ้นในอดีต

หลายครั้งการทำกำไรในหุ้นก็มาจากการหมั่นสังเกตพฤติกรรมหุ้น ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมของ Player หลักที่เทรดหุ้นนั้น Player หลักของหุ้น SET100 ก็คือ กองทุน Prop Trade และต่างชาติ โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบกราฟราคา

เราควรจะต้องศึกษาพฤติกรรมราคาของหุ้นแต่ละตัวเช่น หุ้นนี้มักจะวิ่งบ่ายโมง หุ้นนี้มักถูกเทขายเมื่อราคาเบรคแนวต้านสำคัญ หุ้นนี้เทรดในกรอบราคาเดิมนานมากๆ หุ้นนี้ Bid-Offer ช่วงสะสมเป็นอย่างไร ช่วงราคาขึ้นเป็นอย่างไร ไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดก่อนเริ่มเทรด แต่ต้องค่อยๆ สะสมประสบการณ์ไปจนรู้ใจและจะเริ่มเข้าถูกจังหวะจนทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ

ความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และความช่างสังเกตจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของเทรดเดอร์

เทคนิคการเลือก DW ในการลงทุน

1. พิจารณาปีและเดือนที่หมดอายุโดยดูจากตัวเลข 4 ตัวท้ายในชื่อย่อ เช่น 1804 หมายถึงDWรหัสนี้จะหมดอายุในเดือนเมษายน ปี 2018 ถ้าDWอายุคงเหลือไม่ถึง 2 เดือน ควรหลีกเลี่ยง เพราะ Time Decay จะสูงมาก (ราคาลดลงเร็ว) แม้ว่าจะมี Effective Gearing ที่สูงมากก็ตาม

2. เปรียบเทียบ Sensitivity หรือการที่ราคาขยับตามหุ้นแม่ ควรเน้นDWที่ Sensitivity ใกล้เคียง 1.00 เพราะง่ายต่อการวางแผน Bid หุ้นแม่ขยับ 1 ช่องDW ขยับตาม 1 ช่องด้วย ถ้า Sensitivity ต่ำกว่า 1 จะขยับช้ากว่าหุ้นแม่ เช่น Bid หุ้นแม่เปลี่ยน 2 ช่อง DW จึงจะขยับตาม 1 ช่อง แต่ถ้า Sensitivity สูงกว่า 1 จะขยับเร็วกว่า หุ้นแม่ เช่น Bid หุ้นแม่เปลี่ยน 1 ช่องDWขยับตาม 2 ช่องทั้งในทางขึ้นและทางลง เป็นต้น

DW
วิธีการเลือก Derivative Warrant

3. Theta หรือ Time Decay คือ การลดลงของราคาในแต่ละวัน ถ้าจิ๊บวางแผนจะเทรดหุ้นนั้นแบบ Daytrade จบในวันก็จะไม่เน้นตรงนี้มาก แต่ถ้าต้องการเผื่อถือรันกำไรข้ามวันก็จะพยายามเลือกDWที่ค่า Theta น้อยๆ เช่น ตามภาพ KTC28C1804A มีค่า Theta -0.25 แสดงว่าราคาลดลงช้ากว่า KTC28C1806A นั่นเอง

4. Effective Gearing หมายถึง ค่า Leverage ของDWยิ่งค่ามากก็จะยิ่งให้ Leverage สูง ราคาDWต่ำ ทำให้ %กำไร/ขาดทุนต่อช่องก็จะเยอะ หากเลือกค่า Effective Gearing สูง เราก็ยิ่งต้องมีวินัยในการ Stop loss สูงมากๆ หรืออาจใช้การคำนวนเงินที่เรารับได้ในการกำไร/ขาดทุนต่อช่อง ทำให้แม้จะเลือก gearing สูง แต่ความเสี่ยงยังคงเดิม

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคการอ่านกราฟแท่งเทียน (Candle Stick)

เทคนิคการจำกัดผลขาดทุนแต่ทำกำไรไม่จำกัด (Limited Loss and Unlimited Gain)

บางครั้งDW ของหุ้นที่เราสนใจอาจไม่ได้มีค่า Sensitivity เท่ากับ 1.00 พอดีเสมอไป บางครั้งอาจต่ำกว่าเล็กน้อย อยู่ในช่วง 0.7-0.99 หรือสูงกว่าเล็กน้อย อยู่ในช่วง 1.01-1.3 ก็ถือว่าพอยอมรับได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ดังนี้

– หากDWมีค่า Sensitivity ต่ำกว่า 1 เล็กน้อย จะมีบางช่วงที่ช่องราคาที่ซ้ำกัน เช่น จุดที่ราคาหุ้นแม่ขยับ 2 ช่อง ราคา DW จึงจะขยับ 1 ช่อง (DW ราคาซ้ำกัน 2 ช่อง) ดังนั้น หากช่วงที่ราคาซ้ำกันเป็นราคาแนวรับของหุ้นแม่พอดี เราก็สามารถนำข้อได้เปรียบตรงนี้มาใช้ในการเทรดเลือกเทรดDW ได้ เพราะเราจะสามารถตั้ง Stop Loss ของหุ้นแม่ได้ลึกขึ้นกว่าปกติ เช่น ถ้าภาวะปกติเรายอมรับ Stop Loss ตัว DWได้ 2 ช่อง อาจทนแรงสะบัดของราคาหุ้นแม่ต่ำว่าแนวรับได้มากกว่า 2 ช่อง เป็นต้น

– หากDWมีค่า Sensitivity สูงกว่า 1 เล็กน้อย จะมีบางช่วงที่ช่องราคากระโดดข้าม ดังนั้น หากช่วงที่ราคากระโดดเป็นแนวต้านของหุ้นแม่พอดี ก็เหมาะจะใช้ข้อได้เปรียบตรงนี้เช่นกัน แต่หากเกิดตรงแนวรับก็จะไม่เหมาะ เพราะหากหุ้นแม่ราคาหลุดแนวรับลง 2 ช่อง เราอาจต้องตัดขายขาดทุน DW มากกว่า 2 ช่อง

เทคนิค Limited Loss เพื่อ Unlimited Gain 

การควบคุม Loss มี 2 แนวทาง คือ

1. Limited Amount of Loss : ในการวางแผนการเข้าซื้อ แนะนำให้ใช้วิธีนี้ เพราะเป็นการกำหนดความเสี่ยงด้วยจำนวนเงินที่ยอมรับได้ที่จะตัดขายขาดทุนไว้ตั้งแต่ต้น และกำหนดจำนวนช่องที่จะตัดขายขาดทุนก่อน หมายถึงยอมรับการขาดทุนDWต่อครั้งได้ที่ 20,000 บาท ซึ่งจะต้องวาง Stop Loss DW ไว้ที่ 2 ช่องจากจุดที่เป็นแนวรับของหุ้นแม่

ดังนั้น ต้องคำนวนDWช่องละ 10,000 บาท หากDWราคา 0.52 บาทต่อหุ้น (Spread 0.01) ควรซื้อDW 1 ล้านหุ้นด้วยเงิน 520,000 บาท ดังนั้น เมื่อเรากำหนดจุด Stop Loss แบบเป็นจำนวนช่อง ดังนั้น หากเราเข้าซื้อด้วยหน้าเทรดแบบ Breakout แต่เกิด False Break ราคาไหลลงมาจากจุดที่ราคาเบรค 2 ช่อง เราต้องตัดขายขาดทุนทันที

DW

2. Limited % of Loss : คือ การกำหนดแบบเป็นเปอร์เซ็น วิธีนี้จิ๊บเอามาปรับใช้เป็น Trailing Stop หลังเข้าซื้อแล้วมีกำไรและอยากจะรันกำไรต่อ เพราะ DW มีเรื่องของ Time Decay เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น ราคาหุ้นแม่ที่เราวางไว้เป็น Stop Loss ในวันแรกที่เข้าซื้อ เมื่อเวลาผ่านไปจะกลับมาขาย DW ตรงจุดราคาเดิมนั้น กำไรก็อาจกลายเป็นขาดทุนหรือไม่ได้อะไรเลยจากการซื้อ

วางเป็น % ไว้ เช่น วันแรกที่เข้าซื้อมีกำไร 20% และเราต้องการกำไรไม่ต่ำกว่า 15% สำหรับการเข้าซื้อครั้งนี้ เราก็จะยอมรับการแกว่งตัวลดลงของกำไรได้ที่ 5% เท่านั้น หรือช่วงที่ราคาหุ้นแม่ไม่ค่อยขึ้นต่อแล้ว (ภาวะราคา stunt ที่แนวต้าน) จน Time Decay กินกำไรไปเรื่อยๆ เราจะได้ขายทำกำไรออกมาก่อน และค่อยวางแผนเข้าซื้อใหม่ในจังหวะที่ราคามีแนวโน้มจะ Breakout ไปต่ออีกครั้ง

DW

เช็คตาราง DW สักนิดก่อนเริ่มวางแผนเทรด

สำหรับเทรดเดอร์สายDWการเช็คตารางDWจะเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามา นอกเหนือจากการวางแผนเทรดหุ้น

วิธีการเช็คตาราง คือ เปิด “ตารางราคา 5 วัน” เพื่อดูว่าจะถูกปรับราคาตาม Time Decay ทุกๆ กี่วัน

Derivative Warrant

– หาก 5 วันขึ้นไป จึงจะโดน Time Decay : ถือว่า Time Decay ต่ำมาก เน้น Run Trend หากคุณเข้าถูกทางและมองว่าหุ้นจะเป็นเทรนด์อีกไกล ก็สามารถแบ่งขายและรันกำไรต่อไปได้
– หากมี Time Decay ทุกๆ 3-4 วัน : เน้น Swing Trend ถือ 2-3 วัน เทรดตามแนวรับ-ต้าน
– หากมี Time Decay ทุก 1-2 วัน : เน้น Daytrade จบในวัน ห้ามดอย สิ้นวันไม่ไปต้องคัทลอสเท่านั้น

DW

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทรด Derivative Warrant ได้ที่ www.thaiwarrant.com

Related Posts