เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ทำความรู้จัก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA EMA) ในการวิเคราะห์แนวโน้มราคา

โดย SM1984

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ คือการนำราคาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรายนาที รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ ไปจนถึงรายเดือนและรายปีมาคำนวนเป็นค่าเฉลี่ย ทั่วไปแล้วจะใช้ราคาปิดมาใช้ในการคำนวน โดยเมื่อเวลาและราคาเปลี่ยนไปก็จะทำการคำนวนเส้นค่าเฉลี่ยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

กล่าวคือราคาที่คำนวนจากเส้นค่าเฉลี่ยคือราคาส่วนใหญที่นักลงทุนเข้าไปซื้อขายไว้ในช่วงเวลาดังกล่าวนั่นเอง เช่น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่5วันอยู่ที่ 10 บาท แสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนักลงทุนส่วนมากถือหุ้นในราคาดังกล่าวมากที่สุด

นักลงทุนสามารถเลือกเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้ตามความถนัดและสไตล์การลงทุนแต่ทั่วไปแล้วจะมีค่ามาตราฐานตั้งแต่ 5,10,15,20,50,75,120 จนถึง200วัน ยิ่งเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สั้นมากเท่าไรย่อมหมายถึงสไตล์การลงทุนที่เน้นเข้าออกเร็ว แต่ถ้ายิ่งยาวหมายถึงการเน้นลงทุนระยะยาวในภาพใหญ่ เช่นบางรายเลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่ยาวที่สุดคือเส้น 200 วันใช้เป็นจุดตัดสินในการซื้อขายหุ้น

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย SMA (Simple Moving Average) คำนวนโดยนำค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลังแบบไม่ซับซ้อน

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบซับซ้อน EMA (Exponential Moving Average) เป็นการคำนวนโดยเฉลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักโดยให้น้ำหนักกับราคาในปัจจุบันมากกว่าอดีต รูปแบบนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถแสดงแนวโน้มได้ชัดเจน

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางราคา กล่าวคือหากราคาหุ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แสดงว่าทิศทางอยู่ในขาขึ้นแต่ถ้าเริ่มต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แสดงว่ากำลังจะเข้าสู่ขาลง

จากภาพประกอบแสดงให้เห็นว่าราคายืนอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทุกเส้นแสดงให้เห็นว่ากำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้นสมบูรณ์แบบ หมายความว่ายังคงถือหุ้นดังกล่าวต่อไปได้

ขณะเดียวกันหากราคาหุ้นอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทุกเส้นแสดงให้เห็นว่าทิศทางราคาอยู่ในช่วงขาลงสมบูรณ์แบบ โอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับไปเป็นขาขึ้นจะค่อนข้างลำบาก ยกเว้นแต่มีข่าวหรือปัจจัยบวกที่แรงพอในการผลักดันราคาหุ้น

วิธีการวิเคราะห์ว่าทิศทางราคากำลังจะกลับตัวเป็นขาขึ้นหรือขาลงสามารถดูได้จากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้นที่เวลาต่างกันเกิดการตัดกัน โดยมีสองกรณีคือ

สัญญาณซื้อ (Golden Cross) เกิดจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาวขึ้น เช่น เส้น EMA5 ตัดเส้น EMA20 ขึ้น แสดงว่าราคาหุ้นมีการยกตัวขึ้นและเกิดสัญญาณซื้อ 7

สัญญาณขาย (Death Cross) เกิดจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาวลง เช่น เส้น EMA5 ตัดเส้น EMA20 ลง แสดงว่าราคาหุ้นเกิดการทรุดตัวและเกิดสัญญาณขาย

นอกจากนี้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ยังใช้เป็นแนวรับหรือแนวต้านในการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นด้วยเช่นกัน เช่น หากราคาหุ้นลงมาแตะเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่200วันแล้วสามารถยืนต่อได้ แสดงว่าราคาหุ้นหยุดการลงและอาจจะเข้าสู่สภาวะไซด์เวย์หรือปรับตัวขึ้น นักลงทุนระยะยาวสามารถใช้เป็นจุดในการเข้าซื้อหุ้นได้

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคการอ่านกราฟแท่งเทียน (Candle Stick)

สามารถใช้เครื่องมือทางเทคนิคนี้ได้ที่ www.tradingview.com

Related Posts